กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ รหัส กปท. L6958

อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ
3.
หลักการและเหตุผล

ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 60 มีอาชีพหลักคือการทำสวนยางพารา แรงงานกลุ่มนี้จัดเป็นแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงจากการทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น การปวดข้อมือจากการลับมีดกรีดยางนานๆ ซ้ำๆ กัน ปวดหลังจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับขนาดของหน้ายางที่ต้องกรีดหรือปวดข้อเข่าจากการนั่งยองเป็นเวลานาน เกษตรกรสวนยางพารามักจะทำงานตอนกลางคืนโดยเฉพาะช่วงตี 2 – 6 โมงเช้า การนอนพักบ้างครั้งต้องเหลื่อมเวลาทำงานและพักผ่อนทำให้ร่างกายต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดความอ่อนล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และการทำงานในช่วงยามวิกาลนั้นหากในพื้นที่สวนยางพารามีวัชพืชรกก็เสี่ยงต่อการถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เกษตรกรสวนยางพาราบางกลุ่มจึงเลือกใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นทางเลือกในการกำจัดวัชพืชในร่องสวนยางพารา ซึ่งหากใช้สารเคมีในปริมาณที่มากหรือผิดวิธีอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากสารเคมีกำจัดวัชพืชการใช้น้ำกรดฟอร์มิค – ความเข้มข้น 10 % ที่เติมลงในถ้วยยางเพื่อทำให้ยางพาราตกตะกอนจับตัวได้เร็ว หากไม่ใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยง สารเคมีอาจจะกระเด็นเข้าตาหรือผิวหนังส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นกัน นอกจากนี้การดูแลสิ่งแวดล้อมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้วยยางพาราที่มีน้ำขังอาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงนำไปสู่การเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคได้ สาเหตุของการสัมผัสความเสี่ยงนอกจากการใช้ท่าทางในการทำงานหรือการจัดสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ยังรวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น ในกระบวนการทำยางแผ่นเกษตรกรสวนยางพารามีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากเครื่องนวดและรีดแผ่นยาง หรือถูกไฟฟ้าช็อต การลำเลียงเคลื่อนย้ายน้ำยางพาราหากมีการหกลงบนถนนลาดยางหรือถนนซีเมนต์จะทำให้ถนนลื่น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ขับขี่รถบนถนนก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การดำเนินมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคจากการทำงานในภายหน้า นอกจากจะทำให้แรงงานกลุ่มนี้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่เสี่ยงอย่างมีเป้าหมายแล้ว ยังช่วยให้แรงงานนอกระบบกลุ่มนี่มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น เกิดกลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มอาชีพอีกด้วย

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง
    ขนาดปัญหา 30.00 เป้าหมาย 15.00
  • 2. เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่
    ตัวชี้วัด : จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 150.00
  • 3. เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน
    ตัวชี้วัด : มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 3.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลปะลุกาสาเมา
    รายละเอียด

    ให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานโดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยง จำนวน 150 คน ระยะเวลา 1 วัน 1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 1.3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 7 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท 1.4 ค่าจัดทำป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1.5*3 เมตรๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,350 บาท

    งบประมาณ 20,550.00 บาท
  • 2. สำรวจข้อมูลความเสี่ยง ภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ
    รายละเอียด

    สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และจัดทำระบบข้อมูลเพื่อวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ โดยตัวแทนอาสาสมัคร อาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลปะลุกาสาเมาะ จำนวน 20 คน
    2.1 ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูล จำนวน 20 คนๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท

    งบประมาณ 10,000.00 บาท
  • 3. อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
    รายละเอียด

    ให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราตำบลปะลุกาสาเมาะ โดยการปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการทำงานที่เสี่ยงจากการประกอบอาชีพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคลและกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา เช่น การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น และถอดบทเรียนกำหนดมาตรการหรือข้อบังคับสำหรับป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ จำนวน 150 คน ระยะเวลา 1 วัน 3.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 3.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 3.3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 7 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท

    งบประมาณ 19,200.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 3 มิถุนายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 49,750.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัยตำบลปะลุกาสาเมาะ ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงาน
  2. มีข้อมูลสถานการณ์และความเสี่ยงด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อวางแผนการสนับสนุนกลุ่มอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
  3. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
  4. มีมาตรการสำหรับป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ รหัส กปท. L6958

อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ รหัส กปท. L6958

อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 49,750.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................