กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดช่องว่างระหว่างวัย รู้และเข้าใจ ปัญหาเอดส์ยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

ชมรมเอดส์ตำบลเขาตูม

1. นางเจ๊ะตีเมาะ อุทัย
2. นางสุแวดะ นิแดฮะ
3. นางสาวรูฮานี วาโด
4. นางฟาตีเมาะ หะยีมะมิง
5. นางสาวรอซีด๊ะ สาเมาะ

34/3 ม.3 ต.เขาตูม อ.ยะรังจ.ปัตตานี94160 โทร 084-750-3526

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการเหตุผล
โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acguied Immune DeficiecySyndrome – AIDS ) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) และทำให้สามารถติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเล็ดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรคทำให้ภูมิคุ้มกันโรคน้อยลง จึงทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และเมื่อมีเชื้อโรคอยู่ในร่างกายจะเป็นโรคนี้ตลอดชีวิต ยารักษามีราคาแพงต้องรับประทานยาตลอดชีวิต และเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อสู่บุคคลในครอบครัวได้ โรคเอดส์ เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางการสาธารณสุขของประเทศ และส่วนใหญ่พบว่า มีการระบาดของโรคเอดส์ โรคเอดส์อยู่ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น เนื่องจากเป็นวัยอยากรู้ อยากลอง ติดเพื่อนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งมีปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเด็กวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และอารมณ์
สภาพสังคมปัจจุบันที่สังคมที่เร่งรีบ หลายครอบครัวต่างดิ้นร้นเพื่อเศรษฐกิจในครอบครัว พ่อแม่ทำงานหนัก เพื่อหาปัจจัยยังชีพจากสภาพความเป็นอยู่ของคนทั่วไปในสภาพสังคมยุคปัจจุบัน จึงเป็นการใช้ชีวิตที่อยู่เป็นการแสวงหาการดิ้นรนทำงานทั้งวัน ที่ต้องแข่งขันกับเวลาตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ที่ต้องนำมาใช้จ่ายให้กับตนเองและครอบครัว ที่คิดว่าสามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งจริง ๆ แล้วการใช้ร่างกายทำงาน จนลืมเรื่องของชีวิตไปว่า ชีวิตต้องมีองค์ประกอบอื่นหลายอย่าง นอกจากการหาเงินเพียงอย่างเดียว เช่นการออกกำลังกายการพักผ่อน การทำกิจกรรมร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวบวกกับสมัยเทคโนยีที่เข้ามาแทนที่การพูดคุย การใช้สื่อโซเซียล จนลืมคุยกับคนข้าง ต่างคนๆต่างก้มหน้า หรือเราคุ้นชิน สังคมก้มหน้าแม้แต่ในครอบครัว แทบไม่ได้ทักทายในชีวิตจริง ทำให้สิ่งที่ไม่ดี สามารถรุมเร้าให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบจากสื่อโซเชียล เช่น การเล่นเกมที่สะสมความรุนแรง พฤติกรรมเลียนแบบเป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ทางชมรมเอดส์ตำบลเขาตูม จึงได้จัดทำโครงการลดช่องว่างระหว่างวัย รู้และเข้าใจ ปัญหาเอดส์ยาเสพติด เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครอบ คือ พ่อ แม่ ลูก ได้มีปฎิสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจต่อกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวแนบแน่ รักใคร่กลมเกียวผูกพันกันมากยิ่งขี้น พ่อ แม่ ลูก มีพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดการบูรณาการร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้คนในครอบครัวได้ความรู้เรื่องเอดส์ ยาเสพติดและสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงของตนเองได้
2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายเยาวชนด้านงานเอดส์ในตำบลเขาตูม
3. เพื่อลดการตีตรากับผู้ติดเชื้อ HIV และสร้างความเข้าใจ ในภาคีตำบลเขาตูม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน 1. ประสานทีมคณะทำงาน 2. ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดและทำความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินการตามโครงการ 3. วางแผนการดำเนินงาน 4. สรุปรายงานการประชุมคณะทำงาน

กิจกรรมที่1ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินการ - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง( 15 คน 100 บาท X 1 วัน ) 1,500 บาท - ค่าอาหาร ( 15 คน X50 บาท X 1 มื้อ ) 750 บาท - ค่าอาหารว่าง ( 15 คน x25 บาทX2 มื้อ 750 บาท - ค่าเช่าสถานที่โรงเรียนตาดีกาท500 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คณะทำงานทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ
  • คณะทำงานทราบถึงบทบาทหน้าที่แต่ละกิจกรรม
  • คณะทำงานมีความสามัคคีและให้ความร่วมมือต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมผู้นำภาคีตำบลเขาตูม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้นำภาคีตำบลเขาตูม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน

  1. จัดทำแผนขอเบิกงบประมาณในการจัดกิจกรรมการประชุมผู้นำภาคีตำบลเขาตูม
  2. ติดต่อประสานงานกับ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำศาสนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    และสถานที่ เพื่อจัดกิจกรรมการประชุมภาคี
  3. จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
  4. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน (รายงานกิจกรรม /รายงานการเงิน)
    1. ตรวจสอบความถูกต้องของรายงาน
      รายละเอียดค่าใช้จ่าย ประชุมผู้นำภาคีตำบลเขาตูม
    • ค่าอาหาร ( 35 คนX50บาท X 1 มื้อ) 1,750 บาท
    • ค่าอาหารว่าง ( 35คน X25 บาทX 2 มื้อ ) 1,750 บาท
    • ค่าวิทยากรบรรยายและกระบวนการ ( 400 บาท x 5ชม. X1 วัน ) 2,000บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน(5 คน x200 บาท X 1 วัน ) 1,000 บาท
    • ค่าเช่าสถานที่ 1,000บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 9,500 บาท *** หมายเหตุค่าวัสดุอุปกรณ์กระดาษบรูฟ ปากกาเคมี ป้ายชื่อ แฟ้ม สมุด ปากกาลูกลื่น ฯลฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ภาคีในชุมชนลดการตีตราผู้ป่วยเอดส์
  • ภาคีมีความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยเอดส์
  • ภาคีให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของชมรมเอดส์ตำบลเขาตูม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้พื้นฐานเอชไอวีเอดส์ และทักษะชีวิต พ่อแม่ลูก

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้พื้นฐานเอชไอวีเอดส์ และทักษะชีวิต พ่อแม่ลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน 1. ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมงาน 2. ติดต่อประสานงานวิทยากรกระบวนการ 3. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมอบรม 4. ติดต่อประสานงานสถานที่จัดหาวัสดุอุปกรณ์เตรียมเอกสาร 5. มีการประเมินก่อนและหลังการจัดเวที 6. จัดเวที ให้ความรู้เรื่องเอชไอวีเอดส์ พ่อ แม่ ลูก 7. สรุปรายงานผลการจัดกิจกรรม 8. หลักสูตรเรื่อง เอช ไอ วี/เอดส์ประกอบด้วย - ความรู้พื้นฐานเรื่อเอดส์ - กิจกรรมต้นสายปลายเหตุ (เชื่อมโยงประเด็นยาเสพติด ) - กิจกรรมมุมมองที่แตกต่าง - กิจกรรมเลือกข้าง - หลักการวิเคราะห์ QQR - เกมส์แลกน้ำ ( การแพร่ระบาดของเชื้อ ) รายละเอียดค่าใช้จ่าย - ค่าอาหาร ( 52 คน X50 บาทX1 วัน) 2,600บาท - ค่าอาหารว่าง ( 52 คน X25 บาท X2มือ )2,600บาท - ค่าวิทยากรกระบวนการ (400 บาท x5 ชม.x1 วัน)2,000บาท - ค่าตอบแทนคณะทำงาน (10 คน x200 บาท x 1 วัน)2,000 บาท - ค่าห้องประชุม 1,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ (42คน X50 บาท X1 วัน)2,100 บาท - ค่าป้ายไวนิลขนาด 2 เมตร x 1 เมตร1,500 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 14,300บาท * ค่าวัสดุอุปกรณ์เอกสารเนื้อความรู้พื้นฐานเรื่องเอดส์กระดาษบรูฟ ปากกาเคมีกระเป๋าปากกา สมุดฯลฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. พ่อแม่ลูก มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน
  2. พ่อแม่ลูก มีความตระหนักในเรื่องเอชไอวีเอดส์และยาเสพติด 3.พ่อแม่ลูก เข้าใจสภาพปัญหาในครอบครัว
  3. ครอบครัวมีความตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องตรวจเลือดก่อนแต่งงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 4 ลงเยี่ยมติดตามผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมติดตามผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อปัจจัยยังชีพลงเยี่ยมพบปะผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์( คนละ500 บาท x5 คน) 2,500 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น2,500บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์มีแรงกายและแรงใจต่อสู้โรคเอดส์
  • ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานที่ดูแล
  • ผู้ป่วยเอดส์กล้าที่จะเล่าปัญหาส่วนตัวกับทีมงานที่ดูแล
  • ผู้ป่วยเข้าเขาถึงระบบการรักษาและได้รับยาอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 5 การรณรงค์สร้างกระแสในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์สร้างกระแสในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมงาน
  2. ติดต่อประสานงานสถานที่
  3. จัดซื้อของรางวัลเล่นกิจกรรมในบูธ
  4. แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความรู้เรื่องเอดส์
  5. แจกสื่อความรู้เรื่องเอดส์/แผ่นผับ
  6. กิจกรรมถามตอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์และยาเสพติด
  7. ทำป้ายรณรงค์
  8. จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน (รายงานกิจกรรม/รายงานการเงิน)

งบประมาณ - ค่าตอบแทนคณะทำงาน(10 คน X200 x 1วัน ) 2,000 บาท - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม (150 คนx50 X1วัน)7,500 บาท - ค่าอาหารกลางวันคณะทำงาน (10 คน x50บาท x1 วัน ) 500 บาท - ค่าอาหารว่างคณะทำงาน ( 10 คนX25 บาทX2มื้อ) 500 บาท - ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม 150 คนx25x2 มื้อ 7,500 - ค่าวัสดุอุปกรณ์จัดกิจกรรมภายในบูธและของรางวัล 15,000บาท - ค่าแ่ผ่นผับชุดความรู้เรื่องเอดส์ 300 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 33,300บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ชุมชนมีความตื่นตัวการป้องกันเอชไอวีเอสด์และยาเสพติด
  • ชุมชนมีรู้ความเข้าใจเรื่องเอดส์และยาเสพติด
  • ชุมชนมีการยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33300.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลการดำเนินงานและการสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงานและการสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำรายงานจำนวน 2 เล่มx 500 บาท 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีรูปเล่มสรุปรายงานอย่างสมบูรณ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- 1. เกิดความยั่งยืนของเครือข่ายเยาวชนด้านการทำงานเอดส์ในชุมชน
2. คณะทำงานเอดส์มีการพัฒนาองค์ความรู้และสามารถถ่ายถอดกับชุมชนของตนเองได้
3. สถาบันครอบครัวให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้


>