กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ปี ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

จำนวน ๓ หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ (หมู่ที่ ๔,๕,๗ ต.กาบัง อ.กาบัง จ.ยะลา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า ๑๒ ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง ๔ ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ ๒๙.๗ แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
การศึกษาในผู้สูงอายุไทยที่เป็นความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ ๕๐ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๔ – ๘ มม.ปรอทในเวลา ๑ ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring: HBPM) หรือ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลกาบัง จึงจัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อดำเนินการดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๒.๑ เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
๒.๒ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและการใช้ยา และติดตามผลของการใช้ยาและปรับพฤติกรรมฯ ๓ อ. ๒ ส.
เพื่อการควบคุมความดันโลหิตสูงจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านฯดังกล่าว วัดความดันโลหิตตนเองที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....๖...เดือน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ปี ๒๕๖๓

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ปี ๒๕๖๓
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑๖,๐๐๐...บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้....ให้ระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับวิธีการดำเนินงาน/กิจกรรม เช่น ค่าครุภัณฑ์ : เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านแบบอัตโนมัติตามเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน..๑๐...เครื่อง ราคาเครื่องละ..๑,๖๐๐..บาท  จำนวน...๑๖,๐๐๐....บาท(เงินหนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามระเบียบที่หน่วยงานถือปฏิบัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านฯดังกล่าว วัดความดันโลหิตตนเองที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....๖...เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านฯดังกล่าว วัดความดันโลหิตตนเองที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....๖...เดือน


>