กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ปี ๒๕๖๓
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกาบัง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาเด๊าะ ดอสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า ๑๒ ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง ๔ ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ ๒๙.๗ แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
การศึกษาในผู้สูงอายุไทยที่เป็นความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ ๕๐ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๔ – ๘ มม.ปรอทในเวลา ๑ ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring: HBPM) หรือ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลกาบัง จึงจัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เพื่อดำเนินการดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ปี ๒๕๖๓ 0 16,000.00 0.00
รวม 0 16,000.00 1 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านฯดังกล่าว วัดความดันโลหิตตนเองที่บ้าน อย่างน้อย ๗ วันก่อนวันนัดตรวจ ในระยะเวลาดำเนินการ.....๖...เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 10:29 น.