กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปากน้ำรุ่นที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

ศูนย์บริการและพัฒาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ

1. นายถาวรสุวรรณเรืองศรี

2. นางสาวรุ่งนภา อุสมา

3. นางฮิจยาระบากา

4. นางสาวพิชยา ดำสนิท

5. นางสาวจิตรามะสันต์

พื้นที่ตำบลปากน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ประเทศไทยมีประชากรโดยประมาณ ๖๘ ล้านคน โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อัตราการเกิดของประชากรลดลง ในขณะเดียวกันประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ประชากรสูงวัยที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มีจำนวนมากถึง ๑๑ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของประชากรทั้งหมด(ที่มา สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล) และประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์” เมื่อประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และคาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในอีกไม่ถึง ๒๐ ปีข้างหน้าเมื่อประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๒๘ ของประชากรทั้งหมด โครงสร้างประชากรของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลปาน้ำ พบว่า ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นและมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปีพ.ศ. ๒๕๖๒ ตำบลปากน้ำมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๑๐,๙๖๐ คน จำนวนผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๑,๓๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ๑๒.๑๙ ของประชากรทั้งหมด(สถิติทะเบียนราษฎร ณ วันที่๒๒เมษายน ๒๕๖๒)ถือว่าตำบลปากน้ำก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเช่นกัน สถานการณ์เหล่านี้นำมาสู่ปัญหาของผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพอนามัย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ผู้สูงอายุไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาสหรือเป็นภาระต่อสังคม แต่สามารถมีส่วนร่วมเป็นพลังพัฒนาสังคม จึงควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความพร้อมมีศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรีเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไม่เหงา ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดบ้านติดเตียงก่อนเวลาอันควรด้วยการให้ความรู้และวิธีการในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยทั้งสุขภาพทางกาย สุขภาพจิต จิตปัญญารวมทั้งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในการปกป้องตนเองจากภัยรอบด้านด้วยการให้ข่าวสาร ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ศูนย์บริการและพัฒาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปากน้ำ รุ่นที่2 ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำผู้สูงอายุเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนความสุขครอบคลุมทั้ง ๕ มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

3.00 40.00
2 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 เข้าถึงการรับบริการของรัฐตามสิทธิ

15.00 40.00
3 เพื่อเสริมสร้้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย

9.00 40.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย

12.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งและชี้แจงคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจ วางแผนการปฏิบัติงานกำหนดหลักสูตรและกิจกรรม ออกแบบประเมินผลกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผน

ปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 16 คน คนละ 35 บาทจำนวน3 ครั้ง เป็นเงินเป็นเงิน1,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2563 ถึง 4 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนการทำกิจกรรมโครงการ หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1680.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ และประเมินสุขภาวะก่อนเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ และประเมินสุขภาวะก่อนเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดกรองจากชุมชนและตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50คน คนละ 35 บาท จำนวน2 มื้อ เป็นเงิน3,500บาท

2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน50 คน คนละ 100 บาท จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน5,000บาท

3.ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการ 3 คน ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน3ชั่วโมงเป็นเงิน2,700บาท

4.ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดัน จำนวน2 เครื่องๆละ 2,500บาทจำนวน2เครื่องเป็นเงิน5,000บาท

5.เครื่องชั่งน้ำหนัดแบบดิจิตอลจำนวน1เครื่องๆละ 1,500บาทจำนวน1เครื่องเป็นเงิน1,500บาท

6.ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 432บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น18,132 บาท

ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 ธันวาคม 2563 ถึง 24 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบข้อกำหนดและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18132.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง สุขสงบ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร และวิทยากรกระบวนการชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน36ชั่วโมง เป็นเงิน21,600บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่โครงการจำนวน50 คน คนละ 35บาท จำวน12ครั้งเป็นเงิน21,000บาท

3.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เช่น ปากกา สมุด ซองใส่เอกสาร และวัสดุอื่นที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน12,000บาท

4.ค่าถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่มคู่มืออบรม เล่มละ70บาท จำนวน 50 เล่มเป็นเงิน3,500บาท

5.ค่ากระเป๋าเอกสาร จำนวน50ใบใบละ56บาทเป็นเงิน2,800บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น60,900 บาท

ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการการได้ความรู้จากการทำกิจกรรมโครงการ ครอบคลุม 5 มิติ คือ สุขกาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสงบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุที่ดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุที่ดีมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุและสมาชิกครอบครัวของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าทีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

จัดเป็นเวทีสาธารณะเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนความรู้สู่สาธารณะให้ชุมชนได้ประจักษ์ในศักภาพและพลังของผู้สูงอายุส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี

และมีความสุขโดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

1.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 1 คน ชั่วโมงละ600 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง เป็นเงิน600 บาท

2.ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการ 6 คนชั่วโมงละ 300บาทจำนวน3ชั่วโมงเป็นเงิน5,400บาท

3.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการ และเจ้าหน้าที่จำนวน1 มื้อ มื้อละ100บาทจำนวน100คน เป็นเงิน10,000บาท

4.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่จำนวน2 มื้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน100 คนเป็นเงิน7,000บาท

5.ค่าจัดแต่งสถานที่อบรมเป็นเงิน8,000บาท

6.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมเป็นเงิน1,200บาท

7.ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็นเป็นเงิน3,000บาท

รวมเป็นเงิน35,200บาท

ทุกรายการสามาถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงศักยภาพในเวทีสาธารณะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 115,912.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

*ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อายุยืนเกิน ๘๐ ปี
* ผู้สูงอายุมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกำลังใจไม่เป็นโรคซึมเศร้า และสุขภาพดี
*ขยายผลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการฯและผู้ที่จะเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต ให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมรคุณค่า คุณภาพต่อไป


>