กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยาวชนรุ่นใหม่รักษ์สุขภาพไกลควันบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาตูม

สภาผู้นำชุมชนบ้านโสร่ง

1. นายสะมาแอ บาเหะ
2. นายแวหามะ อุทัย
3. นายอิสมาแอ ดอยี
4. นายสุมตาร์ กูบู
5. นายมะซอและห์ อุทัย

หมู่ 3 บ้านโสร่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชุมชนบ้านโสร่ง หมู่ 3 นั้น เป็นชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก ทั้งที่เป็นประชากรตามทะเบียน และประชากรแฝง ด้วยกับที่ตั้งของชุมชนเป็นปัจจัยเอื้อ คือ มีระยะทางไม่ห่างจากตัวเมืองยะลามากนัก และในชุมชนยังเป็นที่ตั้งขององค์กรทั้งราชการและเอกชน โดยเฉพาะ มีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี อยู่ในพื้นที่ด้วย จึงทำให้มีประชากร โดยเฉพาะ วัยรุ่น เป็นจำนวนมากและจากการเก็บข้อมูลของคณะทำงานชุมชนจากการเตรียมข้อมูลทำแผนชุมชน มีข้อมูลสำคัญที่ไม่เคยมีใครทราบและไม่เคยมาวิเคราะห์คือ ชุมชนมีการสูญเสียเงินนับ 10 ล้านบาทต่อปี ไปกับการใช้จ่ายเรื่องการสูบบุหรี่ ความสูญเสียนี้ มีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ ค่าใช้จ่ายระดับครัวเรือน ซึ่งมีครัวเรือนจำนวน กว่า 800ครัวเรือน ที่สูบบุหรี่ และมีค่าใช้จ่ายต่อวัน รวมกันแล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ 40 บาทต่อครัว ตกเป็นเงิน ต่อปี กว่า 10 ล้านบาท ถือเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับ คุณภาพชีวิตของชุมชน งบประมาณสำหรับการพัฒนาชุมชน
การสูบบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบ และผู้ได้รับควันบุหรี่ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสารต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในบุหรี่ และในควันบุหรี่ ที่กล่าวมาแล้ว เมื่อผู้สูบบุหรี่สูดเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆ กัน จะก่อให้เกิดพิษ ที่ทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งจากการเก็บข้อมูลของ รพ.สต.เขาตูม พบว่า มีเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของพ่อ และคนในครอบครัว ทำให้เกิดอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจติดขัด กว่า 20 รายในแต่ละปี และทำให้เด็กได้รับควันพิษสะสม
การสูบบุหรี่ ส่งผลกระทบในทางสังคม ทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างผู้ที่สูบ โดยมองว่า หลักการอิสลาม ไม่ได้ห้ามเด็ดขาด แค่น่ารังเกียจ(มักรูห์) แต่ผู้ที่ไม่สูบที่ยึดหลักว่า เป็นการห้ามแบบเด็ดขาด (ฮารอม) แม้ว่าจะไม่ขัดแย้งจนกลายเป็นความรุนแรง แต่จะมีลักษณะของการพูดจาโต้ตอบกันไปมา และบางครั้งก็ทำให้การร่วมมือกันทำงานชุมชน มีปัญหา
ผลกระทบของเด็กต่อปัญหาบุหรี่ จากการวิเคราะห์ของคณะทำงานพบว่า ปัญหายาเสพติดที่ระบาดในชุมชน ทุกชนิดนั้น มาจากการเริ่มต้นการสูบบุหรี่ของนักสูบเยาวชนหน้าใหม่ทั้งหมด เด็กกลุ่มนี้คือกลุ่มที่อยู่ระดับประถมปลาย และมัธยมต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดให้โทษในกลุ่มวัยเสี่ยง 2. เพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดให้โทษในกลุ่มเยาวชนวัยเสี่ยง 3. เพื่อให้ความตระหนักและเฝ้าระวังการเสพสารเสพติดในเยาวชนรุ่นใหม่
  1. เด็กและเยาวชนได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเสพติดให้โทษร้อยละ 80
  2. เด็กและเยาวชนห่างไกลสารเสพติดให้โทษประเภทบุหรี่และอื่นๆ ร้อยละ 60
  3. เด็กและเยาวชนสามารถขับเคลื่อนกลไกงานป้องกันสารเสพติดให้โทษในชุมชนได้ ร้อยละ 70
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมคณะทำงานโครงการเยาวชนรุ่นใหม่รักษ์สุขภาพไกลควันบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมคณะทำงานโครงการเยาวชนรุ่นใหม่รักษ์สุขภาพไกลควันบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1. ค่าอาหาร จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท/มื้อ 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 1.2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท/มื้อ 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานโครงการเยาวชนรุ่นใหม่รักษ์สุขภาพไกลควันบุหรี่ เข้าใจและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยแบ่งเป็นโซนในการจัดอบรม ทั้งหมด 4 โซน แบ่งตามมัสยิด

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ โดยแบ่งเป็นโซนในการจัดอบรม ทั้งหมด 4 โซน แบ่งตามมัสยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และสารเสพติดให้โทษ 3 ชั่วโมง
  2. แบ่งกลุ่มสะท้อนความคิดของเด็กและเยาวชน 2 ชั่วโมง
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานแบ่งเป็น 4 โซนๆละ 35 คน รวม จำนวน 140 คนๆละ 50 บาท/มื้อ 1 มื้อ เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงาน แบ่งเป็น 4 โซนๆละ 35 คน รวม จำนวน 140 คนๆละ 25 บาท/มื้อ 2 มื้อ เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 2 ชั่งโมง x 400 บาท ทั้งหมด 4 โซน เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่าวิทยากรกระบวนการ จำนวน 4 คนๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ ( กระดาษปรู๊ฟ,ปากกาเคมี, ปากกาสี, กระดาษเอ 4 หนึ่งรีม, เทปกาว ) เป็นเงิน 1,083 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.2*2.8 ซม. เป็นเงิน 840 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรม ในเรื่องบุหรี่และสารเสพติดให้โทษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20323.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดตั้งเยาวชนอาสาเฝ้าระวังการใช้สารเสพติด ( บุหรี่ )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดตั้งเยาวชนอาสาเฝ้าระวังการใช้สารเสพติด ( บุหรี่ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดตั้งเยาวชนอาสาเฝ้าระวังการใช้สารเสพติด ( บุหรี่ ) ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมนี้

  1. ค่าอาหาร 80 คนๆละ 50 บาท/มื้อ 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่าง 80 คนๆละ 25 บาท/มื้อ 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 400 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากรกระบวนการ จำนวน 2 คนๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 550 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มอาสาเฝ้าระวังในเรื่องบุหรี่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รุ่นพี่ที่ไม่สูบบุหรี่ดูแลสอดส่องน้องๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9950.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1. ค่าอาหารสำหรับผู้ปกครอง เยาวชน และคณะทำงาน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท/มื้อ 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 5.2. ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ปกครอง เยาวชน และคณะทำงาน จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท/มื้อ 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงาน ได้เรียนรู้จากผลการถอดบทเรียนการทำโครงการ เพื่อมาสรุปการทำกิจกรรมในปีต่อๆไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

6.1. ค่าอาหารสำหรับคณะทำงาน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท/มื้อ 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 6.2. ค่าอาหารว่างสำหรับคณะทำงาน จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท/มื้อ 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการสามารถสรุปโครงการและนำส่งในงานในระบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,273.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเสพติดให้โทษ
2. เด็กและเยาวชนห่างไกลสารเสพติดให้โทษประเภทบุหรี่และอื่นๆ
3. เด็กและเยาวชนสามารถขับเคลื่อนกลไกงานป้องกันสารเสพติดให้โทษในชุมชนได้


>