กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง ประจำปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ

ณ ห้องประชุมธรรมาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2563 – 7 มีนาคม 2563 (07.00 น.) สถานการณ์ทั่วโลก 93 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสำราญ พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวนทั้งสิน 100,779 ราย เสียชีวิต 3,412 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,675 ราย เสียชีวิต 3,042 ราย และมีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค ในประเทศไทย ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2563 (11.00 น.) พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค 4,234 ราย (ยืนยันกลับบ้าน 2,508 ราย และรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,726 ราย) และเป็นผู้ป่วยยืนยันสะสม 50 ราย (ผู้ป่วยยืนยันกลับบ้าน 31 ราย, รักษาตัวที่โรงพยาบาล 18 ราย และเสียชีวิต 1 ราย) (ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข, 2563)
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ พิจารณาเห็นควร ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 55 รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมิให้เสี่ยงต่อการสัมผัสโรค มาตรการในการป้องกันตนเองที่สำคัญ คือ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมิให้เสี่ยงต่อการสัมผัสโรค มาตรการในการป้องกันตนเองที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การสวมหน้ากากอนามัย และเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการจัดทำโครงการฯ ดังกล่าวขึ้น โดยมุ่งหวังว่าทุกครัวเรือนสามารถจัดทำหน้ากากอนามัยไว้ใช้เองและสมาชิกในครัวเรือนมีหน้ากากอนามัยไว้ป้องกันโรค ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคระบาดด้วยตัวเอง

ประชาชนมีพฤติกรรมที่สามารถป้องกันโรคระบาด ร้อยละ 90

0.00
4 เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือครู ก. ในการจัดทำหน้ากากอนามัยในพื้นที่

บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ ผู้นำชุมชน อสม. กลุ่มสตรี และประชาชนที่สนใจ สามารถจัดทำหน้ากากอนามัยด้วยตนเองได้ ร้อยละ 100

0.00
5 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของราชการให้แก่ประชาชน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนในพื้นที่สามารถจัดทำหน้ากากอนามัยไว้ใช้ในครัวเรือนได้ ร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2020

กำหนดเสร็จ 16/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 : อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 : อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มสตรี และประชาชนที่สนใจ เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือครู ก. สำหรับเผยแพร่องค์ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 120 คน
งบประมาณ
1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 1.3 ค่าจัดทำป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1x3 เมตรๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900 บาท 1.4 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 16 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. ประชาชนสามารถป้องกันตยเองจากโรคระบาด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 : อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 : อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ในการจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าแก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนถิ่น ผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มสตรี และประชาชนที่สนใจ เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือทีมครู ก. ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า สำหรับป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 120 คน งบประมาณค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า ประกอบด้วย
2.1 ผ้าสาลู 25 หลาๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 875 บาท
2.2 เข็มเย็บผ้า 15 ห่อๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 225 บาท
2.3 ด้ายเย็บผ้า 30 หลอดๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 450 บาท
2.4 ยางยืดเส้นเล็ก 10 แพ็คๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 650 บาท
2.5 กรรไกร 10 ด้ามๆ ละ 110 บาท เป็นเงิน 1100 บาท
2.6 เข็มหมุด จำนวน 10 กล่องๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 16 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในพื้นที่สามารถจัดทำหน้ากากอนามัยไว้ใช้ในครัวเรือนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3550.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 : ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 : ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลจากการซักถามและการตอบข้อซักถามขณะอบรม และประเมินผลจากการปฏิบัติขณะทำกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2563 ถึง 16 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีทีมวิทยากร หรือ ทีมครู ก. จาก “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง”
2. มีทีมวิทยากร หรือ ทีมครู ก. ที่มีความรู้และทักษะในการจัดทำหน้ากากอนามัยไว้ใช้เองในครัวเรือน และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนสามารถสอนวิธีการจัดทำหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชนที่สนใจ
3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเอง
4. เกิดการประสานงาน และความร่วมมือที่ดีต่อกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่


>