กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าน้ำ

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ

1.นางสาวอาซูรา สุตี
2.นายธีรพงษ์ อินทกาญจน์

ณ สนามโรงเรียนอัลเอากอฟอิสลามวิทยา ท่าน้ำ (ปอเนาะบาบอเฮง) หมู่ที่ 2 ตำบลท่าน้ำ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชุมชนเป็นฐานหลักของสังคม แนวคิดการพัฒนาระดับชุมชนและท้องถิ่นให้เข็มแข็ง น่าอยู่ ปลอดภัย มีพัฒนาการที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม เศษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี ชุมชนจะเข็มแข็ง น่าอยู่ และพึ่งพาตนเองได้ ต้องอาศัยความรับผิดชอบ การเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนอาศัยความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหหรือเอกชน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคโดยยึดหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการพึ่งตนเอง เป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันได้ ระบบสุขภาพโดยการส่งเสริมสนับสนุนพฤติกรรมบุคล สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างให้สังคม ครอบครัวและชุมชนมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อประโยชน์สุขของการอยู่ร่วมกันในแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ว่าด้วย การสร้างเสริมสุขภาพให้เป็นไปเพื่อให้เกิดสุขภาวะทั่วทั้งสังคม
ตามพระราชบัญัญติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.257 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.549 มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเรื่องการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และตามพระราชบัญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 16 (19) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์สุขขอลประชาชน ในด้านการป้องกันโรค ระงับโรคติดต่อ การให้บริการด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล แก่ประชาชนในพื้นที่ และเพื่อเป็นการกระตุ้น ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ของประชาชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เป็นการสร้างกระแสให้ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ จึงได้จัดทำโครงการ "สร้างเสริมสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน" ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันโรค รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ป้องกันโรค ระงับโรคติดต่อ

 

0.00
2 2.เพื่อสร้างเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ และเสริมสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชนตำบลท่าน้ำ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/04/2020

กำหนดเสร็จ 08/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.เขียนโครงการ / เสนอโครงการ /ขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมคณะกรรมการ 3.ติต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย 4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้ 4.1 กิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ป้องกันโรค ระงับโรคติดต่อ 4.2 กิจกรรมตลาดนัดสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1.เขียนโครงการ / เสนอโครงการ /ขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมคณะกรรมการ 3.ติต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย 4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้ 4.1 กิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ป้องกันโรค ระงับโรคติดต่อ 4.2 กิจกรรมตลาดนัดสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 450 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 450 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 11,250 บาท 3.ค่าเช่าเตนท์ เวที และเครื่องเสียง พร้อมค่าติดตั้งและรื้อถอน สำหรับเวทีสุขภาพ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 27,000 บาท 4.ค่าเช่าเตนท์ โต๊ะ เก้าอี้ พร้อมค่าาติดตั้งและรื้อถอน สำหรับที่จัดนิทรรศการ/จำหน่ายสินค้า อุปโภค-บริโภค/การจำหน่ายสมุนไพร/การแข่งขันทำอาหาร/สำหรับตรวจสุขภาพ จำนวน 15 ชุดๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท 5.ค่ารางวัลสำหรับการแสดงพิธีเปิดเวที จำนวน 1 ชุดๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 6.ค่าเงินรางวัลแสดงบนเวที จำนวน 5 ชุดๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 7.ค่าเงินรางวัลสำหรับกิจกรรมแข่งขันทำอาหาร จำนวน 3,000 บาท   - รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 1,500 บาท   - รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 1,000 บาท
  - รางวัลที่ 3 จำนวน 1 รางวัล เป็นเงิน 500 บาท 8.ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน จำนวน 3 ท่านๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 9.ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมและจัดสถานที่ เป็นเงิน 5,000 บาท 10.ค่าตอบแทนวิทยากร (เอกชน) จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 11.ค่าตอบแทนพิธีกรบนเวที จำนวน 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 12.ค่าป้ายโครงการขนาดกว้าง 2.5 เมตร ยาว 5 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 3,750 บาท 13.ค่าจ้างรถขยายเสียงประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 คัน จำนวน 2 วันๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2563 ถึง 8 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
105000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 105,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนให้ความสำคัญและตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพแลละองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และสาารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อันจะนำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืนต่อไป


>