กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้าเพื่อนักเรียนอิ่มท้องสมองใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร

1.นางอัญชลี เอมวัฒน์ 0815433988
2.นางศุภกาญจน์ กลิ่นวรากร

โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

 

10.00
2 ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าที่ไม่มีคุณภาพ

 

50.00

"อาหารเช้า" เป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุด ของเด็กวัยเจริญเติบโต เด็กๆ ควรได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์ เพื่อความพร้อมสำหรับการเรียน จากการสำรวจ พบว่า มีเด็กยากจน และด้อยโอกาสจำนวนมากที่ยังต้องเผชิญกับความหิวโหยทุกเช้าก่อนเข้าเรียน เนื่องจากครอบครัวยากจน ผู้ปกครอง ไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอ หรือไม่มีเวลาเตรียมอาหารให้เด็กรับประทานก่อนไปโรงเรียน ทำให้เด็กที่ไม่ได้รับอาหารเช้า ไม่มีความพร้อมในการเรียน ส่งผลให้เด็กไม่มีกำลังใจ และท้อถอย ไม่อยากไปโรงเรียน
โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร จึงเริ่ม โครงการอาหารเช้าเพื่อนักเรียนอิ่มท้องสมองใส โดยสนับสนุนให้โรงเรียน จัดเตรียมอาหารเช้าให้บริการ แก่เด็กยากจน จำนวน 150 คน ทำให้เด็กๆ มีความสุขและพร้อมในการเรียน ผลการเรียนของเด็กดีขึ้น พัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ ดีขึ้นตามมา เด็กๆ มีความสุขในการไปโรงเรียน จึงได้ดำเนินโครงการ " อาหารเช้า เพื่อนักเรียน อิ่มท้อง สมองใส "

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

10.00 5.00
2 เพื่อลดจำนวนนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าที่ไม่มีคุณภาพ

ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าที่ไม่มีคุณภาพ

50.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา 20
ผู้ปกครอง 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมครูและคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมครูและคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อนำเสนอโครงการพร้อมกับรับฟังแนวคิดในการจัดทำโครงการ ระยะเวลาครึ่งวัน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนx 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
2.ค่าเอกสารประกอบการประชุม 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤษภาคม 2563 ถึง 29 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดแนวทางการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมผู้ปกครองนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ปกครองนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้ปกครองประจำภาคเรียน เพื่อนำเสนอโครงการ สร้างความตระหนัก ความเข้าใจพร้อมกับรับฟังแนวคิดในการจัดทำโครงการ ระยะเวลาครึ่งวัน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนx 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของอาหารเช้า
2.เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรูด้านโภชนาการมื้อเช้าสำหรับนักเรียน
2.สอนการปลูกผักสวนครัวอย่างง่ายสำหรับนำมาประกอบอาหารมื้อเช้าได้
3.สอนการประกอบอาหารมื้อเช้าอย่างง่ายให้กับนักเรียน
งบประมาณ
1.ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ด้านโภชนาการ 3 ชั่วโมง X ชั่วโมงละ 600 x 2 คนเป็นเงิน 3600 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 40 คน X คนละ 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 2000 บาท
3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 40 คน X คนละ 60 บาท เป็นเงิน 2400 บาท 4.ค่าเมล็ดพันธ์ุผักสำหรับปลูกผักสวนครัว จำนวน 30 ซอง X 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
5.ค่าภาชนะสำหรับใช้ในการปลูกผักสวนครัว จำนวน 30 ใบ X 50 บาท เป็นเงิน 1500 บาท 6.ค่าดินสำหรับเพาะปลูก จำนวน 30 ถุง ถุงละ 35 บาทเป็นเงิน 1050 บาท
7.ค่าวัตถุดิบสำหรับการสาธิตทำอาหารเช้าให้กับนักเรียน จำนวน 30 คน เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของประโยชน์ในการรับประทานอาหารเช้าที่ส่งผลต่อสุขภาพ
2.นักเรียนสามารถปลูกผักสวนครัวเพื่อนำมาประกอบอาหารเช้าได้
3.นักเรียนสามารถประกอบอาหารมื้อเช้ารับประทานด้วยตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำอาหารเช้าสำหรับนักเรียนอิ่มท้องสมองใส

ชื่อกิจกรรม
จัดทำอาหารเช้าสำหรับนักเรียนอิ่มท้องสมองใส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำอาหารเช้าสำหรับนักเรียน จำนวน 30 คน X 15 X 45 วัน
เป็นเงิน 20250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการรับประทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีอาหารเช้าที่มีคุณภาพรับประทาน
2.นักเรียนมีพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ ดีขึ้น เด็กๆ มีความสุขในการเรียนหนังสือ
3.ผู้ปกครองตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของอาหารเช้ามากขึ้น


>