กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟันสวย ยิ้มสดใสในปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

 

80.00

โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสู่ลูกได้ การเกิดฟันผุในน้านมมีปัจจัยทีเกี่ยวข้องสอดคล้องกับฟันแท้ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะเป็นฟันผุที่เกิดกับเด็กในช่วงอายุน้อย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลายด้าน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้านมได้แก่ ฟัน อาหาร จุลินทรีย์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ซึ่งมารดามีบทบาทสำคัญต่อภูมิคุ้มกันของลูก ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้านม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้าหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่นใจในตนเอง และอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วย นอกจากนี้พบว่า เด็กที่มีฟันน้านมผุ โอกาสที่ฟันแท้จะผุมีมากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้านมผุสาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนใหญ่ในเด็กก่อนวัยเรียน เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การทาความสะอาดช่องปาก ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศนคติกับการตระหนักถึงสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพช่องปากของพ่อแม่ แนวทางที่เหมาะสมสาหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การปูองกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น ซึ่งสามารถปูองกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ เด็กก่อนวัยเรียนยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ในการพัฒนาด้านใด ๆ ก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก จึงเหมาะแก่การปลูกฝังและส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพอย่างจริงจัง
สถานการณ์ฟันผุในเด็กไทย ถือว่าน่าเป็นห่วง จากการสำรวจพบว่าเด็กไทยมีปัญหาฟันผุตั้งแต่อายุ 9เดือน และจะผุมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3ขวบ นอกจากนี้ ข้อมูลสุขภาพช่องปากคนไทยปี 2560 พบว่า เด็กอายุ 3ปี มีปัญหาฟันผุ ร้อยละ 51.7หรือมีฟันผุเฉลี่ย 2.7ซี่ต่อคน ในขณะที่เด็กอายุ 5ปี มีปัญหาฟันผุ ร้อยละ 78.5หรือมีฟันผุเฉลี่ย 4.4ซี่ต่อคน ทั้งนี้ ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีแนวโน้มว่าฟันแท้จะผุมากขึ้นตามไปด้วย หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและเสียฟันในที่สุดเพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็ก กลุ่มอายุ 0-2 ปี ให้ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองและฝึกทักษะการแปรงฟันแบบปฏิบัติจริงแก่ผู้ดูแลเด็ก มีการลงเยี่ยมบ้านในเด็กแรกเกิดถึงช่วงอายุ 1 ปี เดือน 29วันได้รับการทาฟูลออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ เพื่อที่จะให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต
จากการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กจำนวน 40 คนพบว่า ฟันผุ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงจัดทำโครงการฟันสวย ยิ้มสดใสเพื่อให้ผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากเพราะปัญหาฟันผุหลายซี่ในปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะ เตี้ย แคระแกร็น ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการ ล่าช้า เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากเวลาฟันผุ ทำให้ไม่อยากเคี้ยวอาหาร ดังนั้น ฟันที่ดีจึงถือเป็นประตูด่านแรกที่ทำให้ได้เด็กที่สุขภาพดีสมส่วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟันให้กับเด็ก

 

3.00 3.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก

 

3.00 3.00
3 3.เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี

 

3.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 01/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การจัดอบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
1.การจัดอบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย...อบรมความรู้ให้กับผู้ปกครองเด็ก 0 – 2 ปี จำนวน 50  คน ค่าอาหารกลางวัน 75 บาท x 50 คน = 3,750 บาท. ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 50 คน x 2 มื้อ = 2,500 บาท ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x3 เมตร = 1,000 บาท ค่าสมุดบันทึกการแปรงฟัน 15 x 50 คน = 750  บาท.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 2 1.2 กิจกรรมประกวดฟันสุขภาพเด็กดี อายุ 6 เดือน - 2 ปี และมอบรางวัล เด็กฟันดี ไม่มีผุ

ชื่อกิจกรรม
1.2 กิจกรรมประกวดฟันสุขภาพเด็กดี อายุ 6 เดือน - 2 ปี และมอบรางวัล เด็กฟันดี ไม่มีผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-2 ปี ที่เหมาะสม
2.เด็ก 0-2 ปี มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ปลอดภัยจากโรคฟันผุ
3.สุขภาวะช่องปากและโภชนาการของเด็ก 0-2 ปี เหมาะสมตามวัย
4.ช่วยลดการเกิดปัญหาทางทันตสุขภาพของชุมชนในอนาคต


>