กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครยะลา ครั้งที่ 2
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
3.
หลักการและเหตุผล

รายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2563 กระจายไปยัง 152 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ รวมทั้งในเรือ Diamond Princess และ เรือ Grands Princess ทั้งนี้ ในวันที่ 15 มีนาคม มีรายงานจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 157,411 ราย มีอาการรุนแรง 5,649 ราย และเสียชีวิต 5,845 ราย โดยมียอดจำนวนผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ของประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ จีน 80,849 ราย ฮ่องกง 142 ราย มาเก๊า 10 ราย เกาหลี ใต้ 8,162 ราย อิตาลี 21,157 ราย อิหร่าน 12,729 ราย ฝรั่งเศส 4,499 ราย สเปน 6,391 ราย เยอรมนี 4,649 ราย ญี่ปุ่น 825 ราย สิงคโปร์ 212 ราย ไต้หวัน 59 ราย และประเทศไทยมีการติดเชื้อลักษณะเป็นกลุ่มก้อน 11 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 114 ราย รายใหม่ 1 ราย และมีเสียชีวิต 1 ราย (กรมควบคุมโรค, 2563) และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC) สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019: COVID) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2563 นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้ออกประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 2/2563 จากการที่มีคณะกิจกรรมพบปะทางศาสนา (ตับลีฆ) ที่มัสยิด ซือรี ปือตาลิง กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 10,000 คน และต่อมาได้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังจากเข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว ที่สำคัญ ตามรายงานข่าวแจ้งว่ามีคนไทยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 132 คน รวมทั้งผู้ใกล้ชิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมข้างต้น ทางการมาเลเซียได้ตรวจผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานดังกล่าวพบว่า มีผู้ป่วยสัญชาติมาเลเซียรวม 40 คน สัญชาติสิงคโปร์ 2 คน สัญชาติบรูไน 16 คน และติดเพิ่มเติมภายหลังอีก 1 รุ่น จำนวน 8 คน และจำนวนคนไทย ที่เข้าร่วมอีก 132 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นชาวจังหวัดยะลา 30 คน ที่เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ และมีรายงานการเข้ารายงานตัวเพื่อคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ระหว่างการกักตัวภายใน 14 วัน ในภูมิลำเนาของตนเอง แม้ว่าความพยายามในการควบคุมโรค โดยการตรวจจับผู้ป่วยให้ได้อย่างรวดเร็ว แยกโรค และติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกราย ทำให้การระบาดยังอยู่ในวงจำกัดในระยะที่ผ่านมา (Phase 2) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่ประเทศไทยจะพบการระบาดในวงกว้าง เป้าหมายที่สำคัญคือ ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่เขตเมืองและชะลอการระบาด เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด ลดผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงสามารถดูแลประชาชนและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน เน้นการชะลอการระบาด ลดผลกระทบ และเพื่อรับสถานการณ์การระบาดในระยะที่ 3 (Phase 3 widespread local transmission) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงขอความร่วมมือจังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ มาตรา 54 (7) จัดทำกิจการ ซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข มาตรา 56 (3) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพที่มีความใกล้ชิดกับผู้รับบริการ เช่น ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าว จึงจำเป็นป้องกันการแพร่การระบาด ในประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง จังหวัดยะลาจึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประชาสัมพันธ์ระมัดระวัง และป้องกันการระบาด สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครยะลา (ครั้งที่ 2) ด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการให้ความรู้การป้องกันตนเอง การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ แก่กลุ่มประชาชนที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การป้องกัน และเฝ้าระวังควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) รวมถึงช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ สังคม และเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชน ในเขตเทศบาลนครยะลา

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมีความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : 1. ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรมตามเป้าหมาย จำนวน 350 คน 2. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เทศบาลนครยะลาและมีอาการน่าสงสัยได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 80 2. ไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชาสัมพันธ์และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในชุมชน สถานศึกษา วัด มัสยิด สถานที่หน่วยงานราชการ และเอกชน ร้อยละ 80 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องจำนวน 350 คน จำนวน 7 รุ่น
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 25,175.00 บาท
  • 2. ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 70,400.00 บาท
  • 3. การจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 1,797,600.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 23 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 1,893,175.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ มีความรู้เรื่องโรค ทักษะการดูแลตนเอง และปลอดภัยจากโรค 2. ไม่เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ในเขตเทศบาลนครยะลา
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 1,893,175.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................