กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครยะลา ครั้งที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

พื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

รายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2563 กระจายไปยัง 152 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ รวมทั้งในเรือ Diamond Princess และ เรือ Grands Princess ทั้งนี้ ในวันที่ 15 มีนาคม มีรายงานจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 157,411 ราย มีอาการรุนแรง 5,649 ราย และเสียชีวิต 5,845 ราย โดยมียอดจำนวนผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ของประเทศที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ จีน 80,849 ราย ฮ่องกง 142 ราย มาเก๊า 10 ราย เกาหลี ใต้ 8,162 ราย อิตาลี 21,157 ราย อิหร่าน 12,729 ราย ฝรั่งเศส 4,499 ราย สเปน 6,391 ราย เยอรมนี 4,649 ราย ญี่ปุ่น 825 ราย สิงคโปร์ 212 ราย ไต้หวัน 59 ราย และประเทศไทยมีการติดเชื้อลักษณะเป็นกลุ่มก้อน 11 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 114 ราย รายใหม่ 1 ราย และมีเสียชีวิต 1 ราย (กรมควบคุมโรค, 2563) และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC) สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019: COVID) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2563 นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้ออกประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 2/2563 จากการที่มีคณะกิจกรรมพบปะทางศาสนา (ตับลีฆ) ที่มัสยิด ซือรี ปือตาลิง กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 10,000 คน และต่อมาได้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังจากเข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว ที่สำคัญ ตามรายงานข่าวแจ้งว่ามีคนไทยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 132 คน รวมทั้งผู้ใกล้ชิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมข้างต้น ทางการมาเลเซียได้ตรวจผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานดังกล่าวพบว่า มีผู้ป่วยสัญชาติมาเลเซียรวม 40 คน สัญชาติสิงคโปร์ 2 คน สัญชาติบรูไน 16 คน และติดเพิ่มเติมภายหลังอีก 1 รุ่น จำนวน 8 คน และจำนวนคนไทย ที่เข้าร่วมอีก 132 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นชาวจังหวัดยะลา 30 คน ที่เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ และมีรายงานการเข้ารายงานตัวเพื่อคัดกรองตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ระหว่างการกักตัวภายใน 14 วัน ในภูมิลำเนาของตนเอง
แม้ว่าความพยายามในการควบคุมโรค โดยการตรวจจับผู้ป่วยให้ได้อย่างรวดเร็ว แยกโรค และติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกราย ทำให้การระบาดยังอยู่ในวงจำกัดในระยะที่ผ่านมา (Phase 2) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่ประเทศไทยจะพบการระบาดในวงกว้าง เป้าหมายที่สำคัญคือ ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่เขตเมืองและชะลอการระบาด เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด ลดผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงสามารถดูแลประชาชนและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน เน้นการชะลอการระบาด ลดผลกระทบ และเพื่อรับสถานการณ์การระบาดในระยะที่ 3 (Phase 3 widespread local transmission) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงขอความร่วมมือจังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ มาตรา 54 (7) จัดทำกิจการ ซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข มาตรา 56 (3) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพที่มีความใกล้ชิดกับผู้รับบริการ เช่น ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าว จึงจำเป็นป้องกันการแพร่การระบาด ในประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง จังหวัดยะลาจึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประชาสัมพันธ์ระมัดระวัง และป้องกันการระบาด สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลนครยะลา (ครั้งที่ 2) ด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการให้ความรู้การป้องกันตนเอง การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ แก่กลุ่มประชาชนที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์การป้องกัน และเฝ้าระวังควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) รวมถึงช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ สังคม และเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชน ในเขตเทศบาลนครยะลา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมีความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ถูกต้อง
  1. ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรมตามเป้าหมาย จำนวน 350 คน
  2. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เทศบาลนครยะลาและมีอาการน่าสงสัยได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 80
  2. ไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา
0.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. มีการประชาสัมพันธ์และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในชุมชน สถานศึกษา วัด มัสยิด สถานที่หน่วยงานราชการ และเอกชน ร้อยละ 80
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องจำนวน 350 คน จำนวน 7 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องจำนวน 350 คน จำนวน 7 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25175.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70400.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
การจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1797600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 1,893,175.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ ผู้ประกอบการอาหาร ร้านค้า ช่างเสริมสวย ผู้ให้บริการรถสาธารณะ และอาชีพให้บริการอื่นๆ มีความรู้เรื่องโรค ทักษะการดูแลตนเอง และปลอดภัยจากโรค 2. ไม่เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ในเขตเทศบาลนครยะลา


>