กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “เด็กกวาลอยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก พัฒนาคุณภาพชีวิต”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา

นางสาวอาซูรา มาหามะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซรายอ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอิสละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย เพราะฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้น ไม่ได้เกิดจากสาเหตุภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว ยังมีปัญหาที่เกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในปัจจุบันด้วยยกตัวอย่างเช่น โรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาช่องปากที่พบได้ในทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆอย่าง ที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปากแล้ว สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กฟันผุก็มาจากพฤติกรรมการดูแลความสะอาดในช่องปากที่ไม่ถูกวิธี พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมของเด็ก การขาดการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครอง และคุณครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้งการไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของฟันน้ำนม ซึ่งก็ก่อให้เกิดโรคฟันผุตามมา นอกจากจะส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตได้อีกด้วย จากการสำรวจสุขภาพช่องปากของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา พบว่าเด็กอายุ 2 - 3 ปี ซึ่งเป็นปีแรกที่มีฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ เกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 51.7 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 2.7 ซี่ต่อคน
ดังนั้น ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา จึงเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอิสละ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซรายอ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการ “เด็กกวาลอยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก พัฒนาคุณภาพชีวิต” ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยการให้ทันตสุขศึกษากับผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้สามารถนำไปดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและเด็กได้ นอกจากนี้ผู้ดำเนินโครงการได้ยึดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากตามกฎบัตรออตตาวา ในการเพิ่มความสามารถของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก เพื่อแก้ปัญหาทันตสุขภาพของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีก่อให้เกิดพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง ลดปัญหาฟันผุ ทำให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้อย่างถูกวิธีและสะอาด

ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กได้อย่างถูกวิธีและสะอาด ร้อยละ 90

0.00 90.00
2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีอัตราการเกิดโรคฟันผุลดลง

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีอัตราการเกิดโรคฟันผุลดลง ร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 105
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก กิจกรรมการอบรมแกนนำในการเผยแพร่ความรู้โดยมีผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นแกนนำภายใต้ชื่อ “หมอฟันแห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก กิจกรรมการอบรมแกนนำในการเผยแพร่ความรู้โดยมีผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นแกนนำภายใต้ชื่อ “หมอฟันแห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปาก กิจกรรมการอบรมแกนนำในการเผยแพร่ความรู้โดยมีผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นแกนนำภายใต้ชื่อ “หมอฟันแห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้ 2.1.1 ให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคฟันผุ ประกอบด้วยเรื่อง โรคฟันผุ อาหารกับโรคฟันผุ และการแปรงฟันที่ถูกวิธี
2.1.2 พัฒนาทักษะการตรวจฟันดังนี้ 2.1.2.1 ให้ความรู้เรื่องของการตรวจฟัน พร้อมทั้งสาธิตการตรวจฟัน 2.1.2.2 ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กฝึกตรวจฟันโดยใช้แบบตรวจฟัน งบประมาณกิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก กิจกรรมการอบรมแกนนำในการเผยแพร่ความรู้โดยมีผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นแกนนำภายใต้ชื่อ “หมอฟันแห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” -ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 120 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 120 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก จำนวน 105 คน จำนวน 2 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท -ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 120 เล่มๆละ 10 บาท
เป็นเงิน 1,200 บาท -ค่าปากกาลูกลื่น จำนวน 120 ด้ามๆละ 5 บาท
เป็นเงิน 600 บาท -ค่าถุงผ้าลดโลกร้อน 12 x 14 นิ้ว จำนวน 120 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าสมุดฟันดีติดดาวสำหรับเด็ก จำนวน 105 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท -ค่าคู่มือการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 15 เล่มๆละ 35 บาท เป็นเงิน525 บาท -ค่ากระดาษร้อยปอนด์ สำหรับทำนิทานเรื่อง หนูฟันกับฟองน้ำจุลินทรีย์ จำนวน 50 แผ่นๆละ 10 บาท จำนวน 2 เล่ม เป็นเงิน500 บาท -ค่าสีชอล์กพาสเทลสำหรับระบายสีหนังสือนิทาน จำนวน 1 กล่องๆละ 130 บาท เป็นเงิน130 บาท -ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมสำหรับผู้ปกครองเด็ก (แผ่นพับเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก) จำนวน 105 แผ่นๆละ 1 บาท (หน้า – หลัง) เป็นเงิน 105 บาท -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท - ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้ ขนาด 80 ซม. x 180 ซม. จำนวน 2 ผืนๆละ 360 บาท เป็นเงิน720 บาท รวมเป็นเงิน 34,580 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้
  2. อัตราการเกิดโรคฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34580.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และฝึกทักษะการแปรงฟันที่เหมาะสมแก่เด็กอายุ 2 – 3 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และฝึกทักษะการแปรงฟันที่เหมาะสมแก่เด็กอายุ 2 – 3 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณกิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วานิช และฝึกทักษะการแปรงฟันที่เหมาะสมแก่เด็กอายุ 2 – 3 ปี -แปรงสีฟันสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 105 ด้ามๆละ20 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท -ยาสีฟันสำหรับเด็กขนาด 40 กรัม จำนวน 36 กล่องๆละ 25 บาท เป็นเงิน 900 บาท -ค่าแก้วพลาสติกใสลอนสำหรับแปรงฟัน จำนวน 105 ใบ จำนวน 3 แพ็คๆละ 50 บาท เป็นเงิน 150 บาท รวมเป็นเงิน 3,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ โดยมีผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเป็นแบบอย่างที่ดีในการดแลสุขภาพช่องปาก
  2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้
2. เด็กสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ โดยมีผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กเป็นแบบอย่างที่ดีในการดแลสุขภาพช่องปาก
3. อัตราการเกิดโรคฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
4. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>