กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

เทศบาลเมืองคอหงส์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบถูกวิธีรวดเร็วและด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติมีความสำคัญเพราะนอกจากทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้างเช่นการเกิดโรคไข้เลือดออกไข้มาลาเรียไข้หวัดนกโรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่โรคอุจาระร่วงโรคโควิด-19โรคอื่นที่อุบัติใหม่ และภัยพิบัติเช่นการเกิดอุทกภัยการเกิดหมอกควัน เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและในปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบโรคระบาดบ่อยขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้นและมีโรคชนิดใหม่ ๆ มากขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากจำนวนบ้านที่มากขึ้น เขตเมืองมีประชากรหนาแน่น และมีชุมชนแออัดขึ้น ประชาชนจึงติดโรคง่ายแต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิมการคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้นทั้งถนนหนทางที่ทันสมัยและการเดินทางโดยเครื่องบินทำให้เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศสามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ ได้ภายในไม่กี่วัน จากเดิมต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีมีแหล่งรังโรคร่วมกันมากขึ้นเช่นกินอาหารที่ร้านเดียวกันซื้ออาหารจากตลาดหรือโรงงานอาหารเดียวกันใช้น้ำจากระบบประปาเหมือนกันไปเรียนในโรงเรียนเดียวกันได้รับควันพิษจากโรงงานแห่งเดียวกันเป็นต้น
ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา มีสนามบินนานาชาติรวมทั้งยังเป็นรอยต่อระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีประชากรในการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศสูง ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้มากขึ้น งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

มีความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

มีวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/      ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์อย่างเพียงพอ

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ อย่างทั่วถึง

ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กรณีเกิดอุทกภัยหรือภัยพิบัติในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กรณีเกิดอุทกภัยหรือภัยพิบัติในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การป้องกันและควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วม กรณีเกิดอุทกภัย รองเท้าบูท 200 คู่ x 200 บาท = 40,000 บาท
    ชุดยา 1,000 ชุด x 100 บาท = 100,000 บาท
    ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น 2,530 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
142530.00

กิจกรรมที่ 2 กรณีเกิดหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กรณีเกิดหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

หน้ากากอนามัย 70 บาท x 500 กล่อง = 35,000 บาท
หน้ากาก N95 50 บาท x 100 ชิ้น = 5,000 บาท
กระบอกใส่น้ำ 100 ชิ้น x 50 บาท = 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45000.00

กิจกรรมที่ 3 กรณีเกิดโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่

ชื่อกิจกรรม
กรณีเกิดโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมทำเจลล้างมือ และให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค
    ARISTROFLEX - AVC  1 กิโลกรัม x 4,500 บาท = 4,500 บาท
    PROPYLENE GLYCOL  1 กิโลกรัม x 300 บาท = 300 บาท
    ALCOHOL 95% 16 กิโลกรัม = 2,000 บาท
    ALCOHOL AR 4 ลิตร = 1,500 บาท
    หลอด 100g ขาวทึบทรงสูงฝาดำ 38x45    1 แพ็ค 500 หลอด 1 แพ็ค = 8,000 บาท
    BEAKER pp มีหูจับ 2 ลิตร = 300 บาท
    BEAKER pp มีหูจับ 1 ลิตร = 250 บาท
    โรลอัพประชาสัมพันธ์ 1 อัน x 2,000 บาท = 2,000 บาท
  • กิจกรรมทำหน้ากากอนามัยและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค
    ผ้าสำหรับทำหน้ากากอนามัย 6,600 บาท x 20 ม้วน = 132,000 บาท
    ยางยืด 450 บาท x 30 ม้วน = 13,500 บาท
    เข็ม 10 บาท x 40 ห่อ = 400 บาท
    ด้าย 18 บาท x 50 หลอด = 900 บาท
    กรรไกร 10 อัน x 77 บาท = 770 บาท
    โรลอัพประชาสัมพันธ์ 1 อัน x 2,000 บาท = 2,000 บาท
    แผ่นพับเกี่ยวกับโรค 2.6 บาท x 2,000 ใบ = 5,200 บาท
  • จัดซื้อเวชภัณฑ์ วัสดุวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเกิดโรค รวมไปถึงชุด อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการยับยั้ง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
    หน้ากากอนามัย 70 บาท x 250 กล่อง = 17,500 บาท
    เจลล้างมือ 50 บาท x 100 ขวด = 5,000 บาท
    แอลกอฮอล์ 70 % 50 บาท x 200 ขวด = 10,000 บาท
    ถุงมือทางการแพทย์ 100 บาท x 200 กล่อง = 20,000 บาท
    สำลี 100 บาท x 5 ถุง = 500 บาท
    ที่วัดไข้ชนิดยิงหน้าผาก 3,000 บาท
    Tray ใส่อุปกรณ์ 500 บาท
    อับสำลี 200 บาท
    กระปุกทิ้งเข็ม 2 กระปุก x 200 บาท = 400 บาท
    NSS ล้างแผล 100 บาท x 12 ขวด = 1,200 บาท
    NEEDLE DISPCS เบอร์ 21และ25 อย่างละ 2 กล่อง = 4 กล่อง x 100 บาท = 400 บาท
    พลาสเตอร์ปิดแผล 10 กล่อง x 250 บาท = 2,500 บาท
    กระบอกฉีดยา 5 cc 2 กล่อง x 250 บาท = 500 บาท
    กระบอกฉีดยา 3 cc 2 กล่อง x 250 บาท = 500 บาท
    กระติกเก็บความเย็น 2 ชิ้น x 5,000 บาท = 10,000 บาท
    น้ำยาฆ่าเชื้อกลิ่นตะไคร้หอม 50 แกลอน x 250 บาท = 12,500 บาท
    รองเท้าบูท 25 คู่ x 200 บาท = 5,000 บาท
    ชุดกันน้ำ วัสดุ PVC 100% 25 ชุด x 600 บาท = 15,000 บาท
    ถังพ่น 1 ถัง x 3,000 บาท = 3,000 บาท
    น้ำยาพ่นฆ่าเชื้อ 20 แกลอน x 2,000 บาท = 40,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
321320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 508,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ อย่างทั่วถึง
2. มีการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
3. เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมสามารถตอบโต้สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที


>