กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค

องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) โดยในประเทศไทย ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังทั้งสิ้น 837 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อยังคงรับไว้ในโรงพยาบาล 134 ราย อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว 692 ราย และอยู่ระหว่างสังเกตอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกและที่บ้าน 11 ราย เป็นผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม 34 ราย องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค ซึ่งมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ จึงมีความจำเป็นจัดทำ “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง” เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)

ประชาชนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) และสามารถทำหน้ากากอนามัยได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,853
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2020

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และอบรมเชิงปฎิบัติการการจัดทำหน้ากากอนามัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และอบรมเชิงปฎิบัติการการจัดทำหน้ากากอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑ ค่าดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้กับบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนานาคและประชาชน  ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนานาค  เป็นเงิน ๒๐,๖๐๐ บาท (สองหมื่นหกร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดกิจกรรม  ฝึกอบรมบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนานาคและประชาชน  จำนวน  ๔๐ คน หลักสูตร หนึ่ง วัน เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์โรค การป้องกันโรค การคัดกรองโรค
ค่าใช้จ่าย     ๑. ค่าอาหารว่าง ๓๐ บาทx  ๔๐ คน ×๖ มื้อ เป็นเงิน ๗,๒๐๐.บาท     ๒. ค่าอาหารกลางวัน  ๘0 บาทx  ๔๐ คน×๓ มื้อ เป็นเงิน ๙,๖๐๐ บาท     ๓. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาทx ๓ ชม. เป็นเงิน ๑,๘๐๐บาท     ๔. ซองแฟ้มพลาสติก  A๔ จำนวน ๔๐ อัน  เป็นเงิน ๕๐๐  บาท     ๕. สมุดปกอ่อน  จำนวน ๔๐  เล่ม  เป็นเงิน  ๕๐๐ บาท     ๖. ปากกา  จำนวน ๔๐  เล่ม  เป็นเงิน ๕๐๐ บาท     ๗.ป้ายโครงการ  จำนวน ๑ ป้าย  เป็นเงิน ๕๐๐ บาท     รวมเป็นเงิน ๒๐,๖๐๐  บาท กิจกรรมที่ ๒ ค่าดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหน้ากากอนามัย รายละเอียดกิจกรรม  ฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน  ในการจัดทำหน้ากากอนามัยชนิดผ้า
ค่าใช้จ่าย     ๑. ค่าผ้าสาลู จำนวน ๒๐๐  หลา หลาๆละ  ๕๐ บาท เป็นเงิน  ๑๐,๐๐๐.บาท     ๒.ค่าผ้าฝ้าย  จำนวน ๒๐๐ หลาๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน  ๒๐,๐๐๐   บาท     ๓. ค่าเข็มเย็บผ้า  จำนวน  ๕   แผงๆละ ๘ บาท เป็นเงิน ๔๐บาท     ๔. ค่าด้ายเย็บผ้า  จำนวน  ๒ กล่องๆละ  ๑๗๕ บาท เป็นเงิน ๓๕๐ บาท     ๕. ค่ายางยืด   จำนวน  ๑,๐๐๐  หลาๆละ ๑๘ บาท  เป็นเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท     ๖. ค่ากรรไกร  ๘ นิ้ว  จำนวน ๕ ด้ามๆละ๑๒๐  เป็นเงิน ๖๐๐  บาท     ๗.ไม้บรรทัด จำนวน ๔๐ อันๆละ  ๗ บาท เป็นเงิน ๒๘๐ บาท     ๘.เข็มหมุด จำนวน ๑๐  แผงๆละ ๘ บาท เป็นเงิน๘๐ บาท     รวมเป็นเงิน ๔๙,๓๕๐  บาท กิจกรรมที่ ๓ ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและความรู้กับ ปชช. รายละเอียดกิจกรรมแบ่งสายลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และคัดกรองประชาชน. ค่าใช้จ่าย ๑.ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิ  อินฟาเรด  สำหรับวัดไข้  จำนวน  ๒  เครื่อง   เครื่องละ ๖,๐๐๐ บาทเป็นเงิน ๑๒,๐๐๐บาท ๒.ค่าเจลล้างมือ  จำนวน  ๕๐ ขวด  ขนาด ๔๕๐ ml.ขวดละ ๓๕๐ บาท  เป็นเงิน ๑๗,๕๐๐ บาท     รวมเป็นเงิน  ๒๙,๕๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๙๙,๔๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.บุคคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนมีความรู้  ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (COVID-๑๙) และสามารถให้การดูและและแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างถูกต้อง ๒.บุคลากรและประชาชนสามารถจัดทำหน้ากากอนามัยได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
๒. ทีมวิทยากรหรือทีมครู ก มีความรู้และทักษะในการจัดทำหน้ากากอนามัยและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนสามารถสอนวิธีการจัดทำหน้ากากอนามัย
๓. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)


>