โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) |
รหัสโครงการ | 63-L2483-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค |
วันที่อนุมัติ | 23 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 99,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกาญจนา สาสีสุก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.09708,102.00961place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 4853 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) โดยในประเทศไทย ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังทั้งสิ้น 837 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อยังคงรับไว้ในโรงพยาบาล 134 ราย อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว 692 ราย และอยู่ระหว่างสังเกตอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกและที่บ้าน 11 ราย เป็นผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม 34 ราย องค์การบริหารส่วนตำบลนานาค ซึ่งมีหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ จึงมีความจำเป็นจัดทำ “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันตนเอง” เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) ประชาชนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) และสามารถทำหน้ากากอนามัยได้ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และอบรมเชิงปฎิบัติการการจัดทำหน้ากากอนามัย | 0 | 99,450.00 | - | ||
รวม | 0 | 99,450.00 | 0 | 0.00 |
๒.๑ ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ๒.๒ เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ โดยมีกิจกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วย ๓ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเฝ้าระวังโรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการผลิตหน้ากากอนามัยพึ่งตนเอง กิจกรรมที่ ๓ ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและความรู้กับ ปชช.
๑. เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ๒. ทีมวิทยากรหรือทีมครู ก มีความรู้และทักษะในการจัดทำหน้ากากอนามัยและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนสามารถสอนวิธีการจัดทำหน้ากากอนามัย ๓. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID ๑๙)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2563 00:00 น.