กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีใส่ใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

-

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่่งในประเทศไทย จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พศ. 2546 (สถาบัน มะเร็งแห่งชาติ),2548) พบว่า อันตรายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ),2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ Pap smear หรือ VIA (Visual inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy) ปีงบประมาณ 2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณ การดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ VIA ในสตรีไทย อายุ 30-60 ปี กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมปีงบประมาณ 2558-2562 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2558-2562 ของ รพสต.บ้านสามแยก พบว่าสตรีอายุ 30-70 ปื ขึ้นไป ได้รับการตรวจเต้านม ร้อยละ 9.65 และสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก รพ.สต.บ้านสามแยก ร้อยละ 83.22 ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการรวมเจ้าหน้าที่ในต่างพื้นที่เข้ามาทำงานร่วมกัน การสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มแกนนำและส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดูรูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไป รพ.สต. บ้านสามแยก จึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรึกลุ่มเป้าหมายรับรู้และเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายรับรู้และเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

180.00 0.00
2 เพื่อให้สตรึกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งมดลูกอย่างน้อย 1 ปี/ครั้ง และตรวจมะเร็งเต้านมเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยตนเอง

ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวยเอง

180.00 0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตาย ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ลดอัตราผู้ป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

180.00 0.00
4 เพื่อค้นหาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของหญิงวัยเจริญพันธ์ุที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี

ร้อยละ 90 สามารถค้นหาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูและมะเร็งเต้านม

180.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของมะเร็ง รายละเอียดดังนี้ 1.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600บ. x6ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน 50บ. x180คน x1มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ. x180คน x2มื้อ เป็นเงิน 9,000 บาท
5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,000 บาท 6.ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ 30-60 ปี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการ
2.อสม.และสตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการคัดกรองหาโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน
4. ลดอัตราป่วย/ตาย โรคมะเร็งปากมดลูกลดลง


>