กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีใส่ใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 63-L2518-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮายู ยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสวรรค์ สาและ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่่งในประเทศไทย จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พศ. 2546 (สถาบัน มะเร็งแห่งชาติ),2548) พบว่า อันตรายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ),2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ Pap smear หรือ VIA (Visual inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy) ปีงบประมาณ 2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณ การดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ VIA ในสตรีไทย อายุ 30-60 ปี กำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมปีงบประมาณ 2558-2562 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2558-2562 ของ รพสต.บ้านสามแยก พบว่าสตรีอายุ 30-70 ปื ขึ้นไป ได้รับการตรวจเต้านม ร้อยละ 9.65 และสตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก รพ.สต.บ้านสามแยก ร้อยละ 83.22 ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการรวมเจ้าหน้าที่ในต่างพื้นที่เข้ามาทำงานร่วมกัน การสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มแกนนำและส่งเสริมความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดูรูปแบบการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมที่สุดต่อไป รพ.สต. บ้านสามแยก จึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรึกลุ่มเป้าหมายรับรู้และเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายรับรู้และเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

180.00 0.00
2 เพื่อให้สตรึกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งมดลูกอย่างน้อย 1 ปี/ครั้ง และตรวจมะเร็งเต้านมเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยตนเอง

ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวยเอง

180.00 0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตาย ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ลดอัตราผู้ป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

180.00 0.00
4 เพื่อค้นหาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของหญิงวัยเจริญพันธ์ุที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี

ร้อยละ 90 สามารถค้นหาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูและมะเร็งเต้านม

180.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,600.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 0 26,600.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมะเร็งและอสม.ในพื้นที่ 3.สำรวจและทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 4.แต่งตั้งทีมสุขภาพให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน 5.ลงข้อมูลในโปรแกรม CXs 2012 และส่งข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการดำเนินการ 1.ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และอสม.ในพื้นที่ 2.เจ้าหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติงานเชิงรุกในกานดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่นแผ่นพับ ไวนิล 4.ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง แก่ อสม.และกลุ่มเป้าหมาย 5.เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม. ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 6.แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้รับบริการ 7.ในรายที่ผิดปกติ ส่งพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ 30-60 ปี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการ 2.อสม.และสตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการคัดกรองหาโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน
4. ลดอัตราป่วย/ตาย โรคมะเร็งปากมดลูกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2563 15:57 น.