กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
ตำบลวังมะปรางเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในปี 2548-2562 เท่ากับ 88.20 158.7670.56123.48และ 88.20 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบกับสภาพภูมิอาการที่เปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำยุงลายเจริญเติบโตได้ดี และข้อมูลทางวิชาการพบว่า ขณะนี้การเจริญเติบโตของลูกน้ำยุงลายกลายเป็นยุงใช้เวลาเพียง ๕ วัน จาก ๗ วัน ทำให้ปริมาณยุงตัวเต็มวัยเพิ่มมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าในปี ๒๕๖¬๓ อาจเกิดโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก และหากมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลต่างๆ หรือแม้แต่ในระบบการเฝ้าระวังในพื้นที่ก็ต้องดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคภายใน๒๔ ชั่วโมงและพ่นสารเคมีรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย๑๐๐ เมตร เป็นจำนวน 2 ครั้ง โดยมีระยะห่างกัน 7 วัน เพื่อเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงได้จัดทำ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนชุมชน เกิดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย และวิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำเป็นการตัดวงจรพาหนะ นำโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดและเป็นการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคได้แบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ 2
  1. ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ 2
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้น้อยกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2558-2562)

2 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (พ.ศ 2558-2562) ร้อยละ 20

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสารความเสี่ยง 1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบ ในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน 2. ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด 3. ให้ความรู้ พร้อมกันสื่อสาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสารความเสี่ยง 1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบ ในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน 2. ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด 3. ให้ความรู้ พร้อมกันสื่อสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างรถประชาสัมพันธ์ครั้งละ 1,500 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ป้ายไวนิลสำหรับรณรงค์ติดรถประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 2แผ่นๆละ 374 บาท  เป็นเงิน  748  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3748.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 1. กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข 2. รณรงค์ขับเคลื่อนโดยชมรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 1. กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข 2. รณรงค์ขับเคลื่อนโดยชมรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถุง ( ถุงดำ ขนาด 22*26” ) จำนวน 20 แพ็คๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างในการรณรงค์ไข้เลือดออก ปีละ 2  ครั้งๆละ100 คนๆละ 15  บาท เป็นเงิน  3,000  บาท - ASEAN Denuge Day
- รณรงค์ไข้เลือดออกจังหวัดตรัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ 1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ 2. การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง 3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ 1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ 2. การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง 3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างเหมาสำหรับเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควัน จำนวน 1 คนเดือนละๆ 1000 บาท จำนวน 6 เดือน  เป็นเงิน 6,๐๐0 บาท
2. ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย บรรจุ 500 ซอง/ถัง จำนวน 2 ถัง ถังละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท 3. ค่าสารเคมีผสมน้ำยาพ่นหมอกควันจำนวน 2 ขวด ขวดละ 1,650 บาท  เป็นเงิน  3,300 บาท 4. ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 2,000 ซอง ซองละ 5 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท 5. ค่าสเปรย์ฉีดพ่นขนาด 300 มิลลิลิตร จำนวน  100 กระป๋องๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท 5.ค่าน้ำมันเบนซินสำหรับเครื่องพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 3,000 บาท
6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง(น้ำมันดีเซล) เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,548.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
๒. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ในชุมชนและบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
๓. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน


>