กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เขตรับผิดชอบ รพสต.บ้านสะพานเคียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลจากความร่วมมือรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 โดยกรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ พร้อมกันทั่วประเทศโดยเฉพาะสุนัขจรจัด สัตว์ด้อยโอกาสตามสถานที่สาธารณะและแหล่งชุมชน ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตและสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้าลดลงอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ปัจจุบันจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเหลือเพียง 5 ราย ต่อปี แต่เนื่องจากการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวยังมีปัญหาหลายประการที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งในสัตว์และในคนได้ ทำให้อัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ยังมีประมาณ 20% นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มีเป้าหมายร่วมกันดำเนินการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากทวีปเอเชียภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ประเทศไทยในฐานะสมาชิกของทั้ง 2 องค์กร ได้เห็นชอบและพร้อมให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลวังมะปราง และองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภาระหน้าที่ต้องเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจัดทำโครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวในพื้นที่ขึ้น เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ดำเนินได้อย่างต่อเนื่องโดยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ให้ได้มากกว่า 50% เพื่อลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และส่งผลให้ลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสู่คนต่อไป รวมทั้งเพื่อกระตุ้นการสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ประชาชนให้มีความรับผิดชอบนำสัตว์เลี้ยงของตนไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้ามากขึ้น ให้สามารถป้องกันตนเองและสัตว์เลี้ยงจากโรคพิษสุนัขบ้า ส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (แมว) รักถูกวิธี เป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนจากการถูกสัตว์เลี้ยงที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ต่อไป
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
ขั้นเตรียมการ
๑.ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้นำหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงรายละเอียดในการทำงานและทำความเข้าใจร่วมกัน
๒.แต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการดำเนินโครงการเพื่อให้โครงการเกิดผลสัมฤทธิ์
๓.ประชาสัมพันธ์โครงการโดยจัดทำ/จัดหาเอกสารให้ความรู้เรื่อง “ โรคพิษสุนัขบ้า” แจกจ่ายให้กับผู้นำหมู่บ้านประชาสัมพันธ์และ ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะเจ้าของสุนัขและแมวทุกหมู่บ้าน
4.สรุปโครงการและประเมินผลโครงการรายงานต่อผู้บังคับบัญชา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ ๙๐

สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าได้ ร้อยละ ๙๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของโรค รวมถึงวิธีการป้องกันที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครในวันประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของโรค รวมถึงวิธีการป้องกันที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปและอาสาสมัครในวันประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับอบรมให้ความรู้จำนวน 200 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 2.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า ขนาด 13 เมตร จำนวน 6 แผ่นๆละ 390 บาท เป็นเงิน 2,340 บาท
3.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1
3 เมตร จำนวน 1 แผ่นๆละ 390 บาท เป็นเงิน 390 บาท
รวมเป็นเงิน 7,730 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>