2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามรายงานข่าวการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) เป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาด ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 54 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ และเรือ Diamond Princess ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 83,727 ราย มีอาการรุนแรง 8,091 ราย เสียชีวิต 2,859 ราย โดยมียอดผู้ป่วยยืนยันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า) ทั้งหมด 78,935 ราย ไต้หวัน 34 ราย ญี่ปุ่น 226 ราย เกาหลีใต้ 2,337 ราย และสิงคโปร์ 96 ราย อิตาลี 655 ราย และอิหร่าน 245 ราย และสถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง 2,447 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 41 ราย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงขอความร่วมมือจังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ มาตรา 54 (7) จัดทำกิจการ ซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข มาตรา 56 (3) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ รวมทั้งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค รวมทั้งการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในชุมชน สถานศึกษา วัด มัสยิด สถานที่หน่วยงานราชการ และเอกชน และแก้ไขปัญหาการระบาด จังหวัดยะลาจึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประชาสัมพันธ์ระมัดระวัง และป้องกันการระบาด กองสาธารณสุขและสิ่งแดล้อม เทศบาลตำบลยะหา จึงได้จัดทำ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เทศบาลตำบลยะหาด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 (COVID-19) และการให้ความรู้การป้องกันตนเอง (การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอลล์) แก่บุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มสตรี จิตอาสา ครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็ก และประชาชนที่สนใจ รวมทั้ง การประชาสัมพันธ์การป้องกัน และเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 12/03/2020
กำหนดเสร็จ 31/07/2020
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. บุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มสตรี จิตอาสา และประชาชนมีความรู้เรื่องโรค ทักษะการดูแลตนเอง และปลอดภัยจากโรค 2. ไม่เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 (COVID-19 ในเขตเทศบาลตำบลยะหา