กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชาวบ้านทุ่งพัฒนาป้องกันและควบคุมการระบาดโรคไวรัสโคโรนา (COVID -19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุ่งพัฒนา ม.13 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

1.นางสาวนัสิมา ดันงุ่น
2.นางพรทิพ ชายเหตุ
3.นางสาวรอน๊ะ สงบ
4.นายธีรศักดิ์ งะหมาด
5.นางยูรีด๊ะ ยาบาจิ

หมู่บ้านทุ่งพัฒนา ม.13 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ตลอดจนประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย
ขณะนี้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, 11 มีนาคม 2563) และประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563 จำนวน 1,045 ราย เสียชีวิต 4 ราย ทั้งนี้ยังปรากฏผู้ป่วยในจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสตูล ได้แก่จังหวัดตรัง และจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ประชาชนในพื้นที่ตำบลละงู มีญาติที่ไปประกอบอาชีพ ณ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง (WHO : 22 มีนาคม 2563) และประชาชนที่กลับจากพื้นที่เสี่ยง
จากข้อมูลสถานการณ์โรคจะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่บ้านทุ่งพัฒนามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านในเมือง จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชาวบ้านทุ่งป้องกันและควบคุมการระบาดโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ขึ้นเพื่อเร่งดำเนินการป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายโรค และการสร้างสุขนิสัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง รวมถึงให้ข้อมูลที่ถูกต้องและคัดกรองภาวะเสี่ยงแก่ประชาชนในพื้นที่ ช่วยลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง และมีอาการเข้าได้ตามนิยามของโรค COVID-19

มีจุดบริการคัดกรองสุขภาพประจำวัน อย่างน้อย 1 ชุด ในหมู่บ้าน

0.00
2 2.เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ ป้องกันควบคุมโรค COVID -19

มีอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินการในการจัดบริการตามแผน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย - อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน - จัดทำแผนงาน - มอบหมายงาน (มีจุดคัดกรองสุขภาพสำหรับการรวมกลุ่มมากกว่า 10 คน ภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงานควบคุมโรค) งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐.- บาท.x 15 คน = 75๐.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บาทx ๒ มื้อ x 15 คน= 75๐บ. - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ/สื่อสุขศึกษา ๕00.- บาท x 5 แผ่น =2500.- บาท รวมเงิน 4,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2563 ถึง 10 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจุดคัดกรองที่ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดตั้งจุดคัดกรองสุขภาพประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
2. จัดตั้งจุดคัดกรองสุขภาพประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย - ซักประวัติการเดินทาง / ประเมินความเสี่ยง - ตรวจสุขภาพด้วยวิธีการวัดอุณหภูมิร่างกาย - ให้สุขศึกษาประชาชนเฉพาะราย การกำจัด ทำลายเชื้อด้วยวิธีการล้างมือด้วยสบู่ เจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น - จัดบริการสุขภาพรักษาพยาบาลด้วยยาสามัญประจำบ้าน (ขอสนับสนุน รพ.สต.เบิกจ่ายตามสิทธิรักษา) หมายเหตุ : เบิกเฉพาะอาหารและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับแกนนำที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดคัดกรองสุขภาพประชาชน งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวันละ 1 มื้อๆละ ๒๕ บาท x 30 มื้อ x 10 คน= 7,500บ. รวมเงิน 7,5๐๐.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 เมษายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีการคัดกรองผู้เข้า-ออกหมู่บ้านก่อนทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ป้องกันควบคุมโรค COVID-19

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เคมีภัณฑ์ป้องกันควบคุมโรค COVID-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด ราคา 4,300.- บาท  x 2 เครื่อง = 8,000.- บาท
  • จัดซื้อเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ แกลลอน 5 ลิตร ราคา 1,790.- บาท x 2 แกลลอน เป็นเงิน 3,580.- บาท
  • จัดซื้อหน้ากากอนามัย เป็นเงิน 2,000.- บาท
  • วัสดุงานบ้าน จัดทำหน้ากากอนามัย เป็นเงิน  3000 บาท รวมเงิน 16,580.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่มีอุปกรณ์สำหรับป้องกันตนเองในการปฏิบัติหน้าที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16580.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,080.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันตนเองในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
2. ไม่พบผู้ป่วยในพื้นที่ และมีระบบเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยามโรคอย่างมีประสิทธิภาพ


>