กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อน ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สำหรับสถานการณ์ของโรคเรื้อนในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม2558) พบว่าปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคเรื้อนที่ขึ้นทะเบียนรักษา 527 ราย โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2558 จำนวน 155 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยใหม่ที่มีความพิการที่มองเห็นได้ (พิการระดับ 2) จำนวน 20 รายหรือร้อยละ 13 ซึ่งจำนวนลดลงกว่าปี 2553 ที่พบรายใหม่ 405 ราย และพิการระดับ 2 จำนวน 60 ราย แต่ยังมีปัญหาที่น่าเป็นห่วง คือในผู้ป่วยรายใหม่มีความพิการก่อนมาพบแพทย์รักษา เช่น นิ้วมือนิ้วเท้าหงิก งอ กุดหรือด้วน เปลือกตาปิดไม่สนิทเวลาหลับ สาเหตุเพราะผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาที่ล่าช้า โดยจะเห็นได้จากข้อมูล 5 ปีที่ผ่านมา(ปี 2553-2557) มีผู้ป่วยรายใหม่มีความพิการระดับ 2 อยู่ที่ร้อยละ 10-17
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ทั่วโลกไม่ เกิน 100 รายต่อประชากร 1 ล้านคน ในปี 2563 ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายกำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ของประเทศไทย ไม่เกิน 100 ราย และลดอัตราความพิการระดับ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ไม่เกิน 0.3 รายต่อประชากร 1 ล้านคน (20 ราย) ในปี 2563
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งดำเนินการใน 2 มาตรการสำคัญคือ 1.การเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในพื้นที่ที่มีข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาและ ในผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยที่ตกค้างในชุมชนได้รับการค้นพบโดย เร็ว และได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งผลให้สามารถลดการแพร่เชื้อโรคเรื้อนในชุมชน และลดการเกิดความพิการระดับ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่และ 2.การพัฒนาเครือข่ายในการฟื้นฟูสภาพผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน โดยการสำรวจความพิการ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการที่จำเป็นของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน เพื่อไห้ได้รับการฟื้นฟูสภาพตามความเหมาะสม หรือสามารถพึ่งตนเองได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ร่วมกับองค์กรเครือข่ายสร้างสุขภาพภาคประชาชนภาครัฐและภาคท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คันหาผู้ป่วยโรคเรื้อน เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคและสนับสนุนการแก้ปัญหาสาธารณสุขควบคู่ไปกับการป้องกันโรคเพื่อสู่เป้าหมายของเมืองไทยสุขภาพดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่อยู่ในชุมชน ให้รีบรักษาก่อนเกิดความพิการ

 

0.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในพฤติกรรมการป้องกันตนเองในเรื่องโรคเรื้อน

 

40.00 50.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในการควบคุมโรคเรื้อนในชุมชน

 

40.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค่าจัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ป่วย ญาติ และผู้สัมผัสใกล้ชิด ในหมู่บ้านเสี่ยงสูง ตามข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยา

ชื่อกิจกรรม
ค่าจัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ป่วย ญาติ และผู้สัมผัสใกล้ชิด ในหมู่บ้านเสี่ยงสูง ตามข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน X 25 บาท X 2 มื้อ        เป็นเงิน  2,000  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน  40 คน X 50 บาท X 1 มื้อ            เป็นเงิน  2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจหมู่บ้านเสี่ยงสูงตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
สำรวจหมู่บ้านเสี่ยงสูงตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คน X 25 บาท X 2 มื้อ  เป็นเงิน  750 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน 15 คน X 50 บาท X 1 มื้อ  เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับ อสม.ในการออกค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน  15 คน X 50 บาท
    เป็นเงิน  750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลคอลอตันหยง ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
2 เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง
3 เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง
4 เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
5 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
6 เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
7 เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา


>