กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อน ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3062-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 6,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุทธิมา พิชัยวงศ์ธรรมา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำหรับสถานการณ์ของโรคเรื้อนในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม2558) พบว่าปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคเรื้อนที่ขึ้นทะเบียนรักษา 527 ราย โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2558 จำนวน 155 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยใหม่ที่มีความพิการที่มองเห็นได้ (พิการระดับ 2) จำนวน 20 รายหรือร้อยละ 13 ซึ่งจำนวนลดลงกว่าปี 2553 ที่พบรายใหม่ 405 ราย และพิการระดับ 2 จำนวน 60 ราย แต่ยังมีปัญหาที่น่าเป็นห่วง คือในผู้ป่วยรายใหม่มีความพิการก่อนมาพบแพทย์รักษา เช่น นิ้วมือนิ้วเท้าหงิก งอ กุดหรือด้วน เปลือกตาปิดไม่สนิทเวลาหลับ สาเหตุเพราะผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาที่ล่าช้า โดยจะเห็นได้จากข้อมูล 5 ปีที่ผ่านมา(ปี 2553-2557) มีผู้ป่วยรายใหม่มีความพิการระดับ 2 อยู่ที่ร้อยละ 10-17
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ทั่วโลกไม่ เกิน 100 รายต่อประชากร 1 ล้านคน ในปี 2563 ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายกำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ของประเทศไทย ไม่เกิน 100 ราย และลดอัตราความพิการระดับ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ไม่เกิน 0.3 รายต่อประชากร 1 ล้านคน (20 ราย) ในปี 2563 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งดำเนินการใน 2 มาตรการสำคัญคือ 1.การเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในพื้นที่ที่มีข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาและ ในผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยที่ตกค้างในชุมชนได้รับการค้นพบโดย เร็ว และได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ส่งผลให้สามารถลดการแพร่เชื้อโรคเรื้อนในชุมชน และลดการเกิดความพิการระดับ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่และ 2.การพัฒนาเครือข่ายในการฟื้นฟูสภาพผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน โดยการสำรวจความพิการ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการที่จำเป็นของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน เพื่อไห้ได้รับการฟื้นฟูสภาพตามความเหมาะสม หรือสามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ร่วมกับองค์กรเครือข่ายสร้างสุขภาพภาคประชาชนภาครัฐและภาคท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คันหาผู้ป่วยโรคเรื้อน เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคและสนับสนุนการแก้ปัญหาสาธารณสุขควบคู่ไปกับการป้องกันโรคเพื่อสู่เป้าหมายของเมืองไทยสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่อยู่ในชุมชน ให้รีบรักษาก่อนเกิดความพิการ

 

0.00 0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในพฤติกรรมการป้องกันตนเองในเรื่องโรคเรื้อน

 

40.00 50.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในการควบคุมโรคเรื้อนในชุมชน

 

40.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,250.00 2 6,250.00
28 ส.ค. 63 ค่าจัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ป่วย ญาติ และผู้สัมผัสใกล้ชิด ในหมู่บ้านเสี่ยงสูง ตามข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยา 0 4,000.00 4,000.00
29 - 30 ก.ย. 63 สำรวจหมู่บ้านเสี่ยงสูงตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ 0 2,250.00 2,250.00

1.คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ
2.จัดทำโครงการเสนอเพื่อของบประมาณ
3.ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อน
4.จัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อนแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ป่วย ญาติ และผู้สัมผัสใกล้ชิด ในหมู่บ้านเสี่ยงสูง ตามข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยา คือ
- หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) ในรอบปีที่ผ่านมา
- หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนชนิดเชื้อมาก (MB) ในรอบปีที่ผ่านมา
- หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ที่มีความพิการระดับ 2 ในรอบปีที่ผ่านมา
- หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยใหม่ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
5. สำรวจหมู่บ้านเสี่ยงสูง ตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลคอลอตันหยง ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล 2 เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง 3 เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง 4 เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ 5 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ 6 เกิดบทเรียนจากการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา 7 เกิดนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2563 14:57 น.