กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการนักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านท่าแลหลา
กลุ่มคน
1. นางสาวตัสนีม หลีขาว
2. นางสาวนันทิยา ชูบัว
3. นางสาวภูษณิศา เศรษฐ์วิชัย
4. นางปทุมมา สงบ
5. นายสันติ ช่วยนาค
3.
หลักการและเหตุผล

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่รวมของประชากรกลุ่มวัยเรียนและเยาวชนซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเด็กให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดการจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาให้คุณภาพของผู้เรียนดียิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิตของผู้เรียน ตลอดจนให้ผู้เรียนรู้จักบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและเฝ้าระวังอันตรายจากการบริโภคอาหาร ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการที่สมส่วน ปฏิบัติตามสุขบัญญัติอย่างถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การมีสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในปัจจุบันเด็กในวัยเรียนมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากเด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา จำนวน 184 คน เป็นโรคเหา จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 33.69 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน87 คน คิดเป็นร้อยละ 47.28 ฟันผุจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 17.39 และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 39.13 ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา โรงเรียนบ้านท่าแลหลาเล็งเห็นความสำคัญของนักเรียนในทุกด้านของชีวิต เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนบ้านท่าแลหลาตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการ “นักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ” เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลความสะอาดของร่ายกายและศีรษะของตนเอง นักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และมีการเจริญเติบโตสมวัยนักเรียนได้เล่นกีฬาและมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอสามารถนำความรู้และการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
    ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกายและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่เหมาะสม
    ตัวชี้วัด : - นักเรียน ร้อยละ 70 ที่เป็นเหาสามารถรักษา ลดการแพร่สู่ผู้อื่น และการกลับมาติดเหาอีกครั้ง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : - นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการร้อยละ 100 - นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. เพื่อแก้ไขและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
    ตัวชี้วัด : - นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและฟันร้อยละ 100 - นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 100 - ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่ฟันผุมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น กรณีพบฟันผุได้รับการรักษาต่อทุกราย
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. เพื่อแก้ไข ส่งเสริม และสนับสนุนการออกกำลังกายของนักเรียน และส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : - ครูและนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรม เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ร้อยละ 70 ร่วมกันเล่นกีฬาเป็นประจำ สม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง - นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. สร้างองค์ความรู้เรื่อง “สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    ให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ระดับอนุบาลและระดับประถม-มัธยม

    • เรื่องสุขวิทยา เช่นร่างกาย ผิวหนัง ผม เล็บ เป็นต้น
    • เรื่องการดูแลรักษาความสะอาดบนศีรษะการกำจัดเหาสอนการทำแชมพูสมุนไพรกำจัดเหา
    • เรื่องภาวะโภชนาการสำหรับเด็กคุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิด
    • เรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน
    • เรื่องการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ได้ง่ายๆโดยการออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง

    เป้าหมาย

    • นักเรียนชั้น ป.1 – ม.3จำนวน 143 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 675 บาท เป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 143 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 7,150 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 143 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,860 บาท

    รวมเป็นเงิน 14,285 บาท

    งบประมาณ 14,285.00 บาท
  • 2. เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. สอน/สาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร
    2. รณรงค์ให้นักเรียนกำจัดเหาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    3. ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการทำความสะอาดของเด็กนักเรียนสัปดาห์ละ 1 วัน จนกระทั่งนักเรียนปลอดเหา

    เป้าหมาย (นักเรียนที่เป็นเหา)

    • นักเรียนชั้นอนุบาล (ผู้หญิงจำนวน20 คน / ผู้ชายจำนวน4 คน)
    • นักเรียนชั้นประถมและมัธยม(ที่เป็นเหา) จำนวน38คน

    รวมทั้งหมด 62 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 62 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 3,100 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรมการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 675 บาท เป็นเงิน 675 บาท

    ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำแชมพูกำจัดเหา

    • เครื่องปั่น เป็นเงิน 1,200 บาท
    • เขียง อันละ 20 บาท 4 อัน เป็นเงิน80 บาท
    • มีด ด้ามละ 50 บาท 4 ด้าม เป็นเงิน 200 บาท
    • กะละมัง ใบละ 25 บาท 4 ใบเป็นเงิน 100 บาท
    • น้ำ 3ถัง ถังละ 12 บาท เป็นเงิน 36 บาท
    • ผ้าขนหนู จำนวน 62 ผืนๆละ 45 บาท เป็นเงิน 2,790 บาท

    รวมเป็นเงิน 8,181 บาท

    งบประมาณ 8,181.00 บาท
  • 3. ส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล และ ป.1 - ม.3

    2. จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก

    3. นักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกินและต่ำแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องโดยวิธีการมีส่วนร่วมโดยสหวิชาชีพ

    เป้าหมาย

    • นักเรียนชั้น อนุบาล จำนวน 41 คน
    • นักเรียนชั้น ป.1 – ม.3 จำนวน 143 คน

      รวม184คน

    งบประมาณ

    • ค่าคู่มือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ จำนวน 184 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 5,520 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็กขนาด 1 x 1.5 เมตร จำนวน 5 ผืนๆละ 225 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท

    รวมเป็นเงิน 6,645 บาท

    งบประมาณ 6,645.00 บาท
  • 4. ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ตรวจคัดกรองสุขภาพปากและช่องฟันนักเรียน และสอน/สาธิตการแปรงฟันให้กับนักเรียน

    2. รณรงค์นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

    3. ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม สุขภาพปากและช่องฟันของนักเรียน เดือนละ 1 ครั้ง

    เป้าหมาย

    • นักเรียนชั้น อนุบาล      จำนวน 41 คน
    • นักเรียนชั้นป.1 – ม.3  จำนวน 143 คน

    รวม  184  คน

    งบประมาณ

    • แปรงสีฟันสำหรับสาธิต อันละ 50 บาท จำนวน 184 อัน เป็นเงิน 9,200 บาท
    • ยาสีฟัน 12 กล่อง กล่องละ 75 บาท เป็นเงิน 900 บาท
    • แก้วน้ำ อันละ 35 บาท 184 อัน เป็นเงิน 6,440 บาท
    • ยาย้อมสีฟัน ขอความอนุเคราะห์จาก รพ.ละงู

    รวมเป็นเงิน 16,540 บาท

    งบประมาณ 16,540.00 บาท
  • 5. เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวน ผู้ปกครองและคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาให้เข้าร่วมออกกำลังกาย

    2. จัดกิจกรรม เดิน วิ่ง ทุกวันพุธ เวลา 15.00-16.00 น. จำนวน 6 สัปดาห์ เส้นทางจากโรงเรียนบ้านท่าแลหลาไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง

    เป้าหมาย

    • นักเรียน ชั้น ป.1 – ม.3 คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และคนในชุมชนบ้านท่าแลหลา จำนวน 180 คน

    งบประมาณ

    • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์กิจกรรมรณรงค์ เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ ขนาด 1.5x3 เมตร จำนวน 2 แผ่น แผ่นละ 675 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
    • น้ำสมุนไพร  จำนวน 180 ขวด/สัปดาห์ ราคาขวดละ 10 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
    • ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 2 ชุด ชุดละ 250 บาท เป็นเงิน  500 บาท

          รวมเป็นเงิน 12,650 บาท

    งบประมาณ 12,650.00 บาท
  • 6. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
    2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    เป้าหมาย

    • คณะทำงานโครงการจำนวน5คน
    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

      รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านท่าแลหลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 59,301.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ครูและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะโภชนาการ สุขภาพในช่องปาก สุขภาพกายและการออกกำลังกาย
    1. นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กทุกคน
    2. นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
    3. นักเรียนรู้วิธีการกำจัดเหาและดูแลความสะอาดของร่างกาย
    4. นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และคนในชุมชน ร่วมใจกันออกกำลังกายร่วมกันในชุมชน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 59,301.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................