กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์รักในครอบครัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ

1.นายนพรัตน์ เกษม
2.นางจุฑาพร สันจิตร
3.นายประพันธุ์ กองบก
4.นางสุไนละ สัสดี
5.นางจริยา สอเหลบ

โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพสังคมในปัจจุบัน มีความเจริญทางด้านวัตถุ และเทคโนโลยี ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้การดำรงชีพในครอบครัวต้องแข่งขัน รายได้ กับรายจ่าย ก่อให้เกิดปัญหา แล้วยังส่งผลต่อการดำรงชีวิต ปัญหาสุขภาพ เป็นปัญหาหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการบั่นทอนต่อการทำงาน การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นกิจอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่จะส่งผลให้การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กที่กำลังเจริญก้าวไกล ทำให้ช้าลง

จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ พบปัญหาเกี่ยวกับโรคโรคฟันผุ โรคปริทันต์ จำนวน 53 คน คิดเป็น ร้อยละ 41.41 สาเหตุจากการที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพช่องปาก ขาดความรู้และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่แปรงฟันก่อนนอน พร้อมทั้งผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักถึงปัญหานี้เท่าที่ควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กเป็นอย่างมาก และพื้นที่โรงเรียนบ้านควานฟ้าแลบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีเขตบริการนักเรียนดังนี้ คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 9 ในสภาพพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง พบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนร้อยละ 30 นักเรียนส่วนหนึ่งนำรถจักรยานในการเดินมาโรงเรียน และนักเรียนยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้รถบนท้องถนน ไม่ระมัดระวังในการใช้รถ ขับรถด้วยความประมาท ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง นักเรียนและผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจร ความประมาท เนื่องจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบเชื่อมต่อถนนสายหลัก ระหว่างชุมชน ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้รถ การสวมหมวกนิรภัย การไม่ประมาท ย่อมจะลดภาวะความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุได้ ปัญหาที่พบอีกอย่างหนึ่งในชุมชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 20 ไข้เลือดออก ปี 2560 – 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 2, 12 และ 21 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 1327.43, 758.53 และ 131.75 ตามลำดับ ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสุขภาพของนักเรียน ถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ส่วนหนึ่งก็สามารถป้องกันตนเองได้ นอกจากการส่งเสริมเรื่องสุขภาพของนักเรียนแล้ว กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการรู้จักการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเครียด สร้างภูมิคุ้มกันโรค สุขภาพแข็งแรงทั้งยังร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ดี การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งส่งผลที่ดีกับสุขภาพของนักเรียนเป็นอย่างมาก

โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์รักในครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียน ให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การป้องกันโรค การป้องกันอุบัติเหตุ และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและโรงเรียนโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้กับนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก การป้องกันโรคและการป้องกันอุบัติเหตุ
  1. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากเพิ่มขึ้น

  2. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

  3. ร้อยละ90ของผู้ปกครองมีการสวมหมวกกันน็อกและเข็มขัดนิรภัยเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจรจากการนำนักเรียนมาโรงเรียนโดยยานพาหนะส่วนบุคคล

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้นและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  1. ร้อยละ  90  ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปากโดยทันตแพทย์หรือบุคลากรเกี่ยวกับทันตกรรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  2. ร้อยละ 100  ของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข และส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกวิธีกับผู้เชี่ยวชาญของทันตแพทย์

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยของนักเรียน และครูด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  • โรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

  • โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ลดลงจากเดิมอย่างน้อย ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมระหว่างสถาบันโรงเรียนกับครอบครัว

1.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครอง มีการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง

2.นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ได้ร่วมกันกำหนดมาตรในการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการป้องกันอุบติเหตุทางด้านการจราจร อย่างน้อย 5 มาตรการ

  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียน และครูร่วมกันออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 128
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู 15
ผู้ปกครอง 120

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2020

กำหนดเสร็จ 25/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

2.ให้ความรู้ในการจัดกิจกรรมในแต่ละฐานการเรียนรู้ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพปาก เช่น

  • ด้านสุขภาพเหงือกและฟัน การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

  • การควบคุมป้องกันโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น

    • การป้องกันอุบัติเหตุ ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณไฟจราจร และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบให้เหมาะกับการพัฒนาการของเด็กระดับประถมศึกษา

3.ประเมินความรู้หลังการอบรม

เป้าหมาย

  • นักเรียน128 คน
  • ผู้ปกครอง120 คน
  • คณะทำงาน20 คน

    รวม 268 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 268คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 17,420บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมโครงการ จำนวน 268คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 13,400 บาท
  • ไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 ×3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 675บาท เป็นเงิน 675บาท
  • ไวนิลกิจกรรมในแต่ละฐาน จำนวน 3 ฐาน ขนาด 1.5 × 3 เมตร จำนวน 3ผืน ๆละ 675บาท เป็นเงิน 2,025 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ท่าน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 6,000 บาท

รวมเป็นเงิน 43,120 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากเพิ่มขึ้น

  2. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

  3. ร้อยละ 90ของผู้ปกครองมีการสวมหมวกกันน็อกและเข็มขัดนิรภัยเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจรจากการนำนักเรียนมาโรงเรียนโดยยานพาหนะส่วนบุคคล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43120.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ครูประจำชั้นคัดเลือกแกนนำนักเรียนแต่ละชั้นเรียน ห้องเรียนละ 2 คน

  2. รณรงค์ให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน

  3. แกนนำตรวจสอบการแปรงฟันหลังอาหาร พร้อมบันทึกผล

  4. กรณีเด็กฟันผุ ให้แกนนำนักเรียนรายงานผลครูเพื่อทราบ แจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ และส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล

  5. ห้องเรียนแต่ละชั้นมุมส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก

เป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน 128คน

งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิล ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี ขนาด 1.2 × 2.4 จำนวน 8ผืน เป็นเงิน 3,456บาท

รวมเป็นเงิน 3,456 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปากโดยทันตแพทย์หรือบุคลากรเกี่ยวกับทันตกรรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข และส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกวิธีกับผู้เชี่ยวชาญของทันตแพทย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3456.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. นักเรียนและครูเดินรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ ราไข้หวัดไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โดยการจัดกิจกรรมให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล พร้อมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่ก่อให้เกิดโรคในชุมชน

  2. จัดกิจกรรมการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนและห้องน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง

  3. กรณีที่พบนักเรียนป่วย หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโรงเรียนดำเนินการแจ้งสาธารณสุขโดยเร็วเพื่อดำเนินการป้องกันและสอบสวนโรคต่อไป

เป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน128คน
  • ครู จำนวน15คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนและครู จำนวน 143 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาทเป็นเงิน 2,860 บาท
  • ป้ายไวนิล การรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก ในการปฏิบัติตนเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ จำนวน 9 ป้าย ขนาด 1.2 ×2.4 เมตร ป้ายละ 432 บาทเป็นเงิน 3,888 บาท

รวมเป็นเงิน 6,748 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  • โรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

  • โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ลดลงจากเดิมอย่างน้อย ร้อยละ ๕๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6748.00

กิจกรรมที่ 4 ใช้ถนนปลอดภัย ร่วมใจ ป้องกันอุบัติเหตุ

ชื่อกิจกรรม
ใช้ถนนปลอดภัย ร่วมใจ ป้องกันอุบัติเหตุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา ปรึกษาหารือเกี่ยวกับ การใช้มาตรการในโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย การจัดทำป้ายจราจร การใช้รถใช้ถนนภายในโรงเรียน

  2. รณรงค์ให้นักเรียนขับขี่รถโดยสวมหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

เป้าหมาย

  • คณะครูจำนวน11 คน
  • คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน15คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุม จำนวน 26 คนๆละ 1 มื้อ มื้อละ 25บาท เป็นเงิน 650บาท
  • ป้ายไวนิลเครื่องหมายจราจร เครื่องหมายเตือน เครื่องหมายประกาศ ขนาด1 ×2เมตร จำนวน 6 ป้ายๆละ300บาท เป็นเงิน1,800บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ปกครองและนักเรียนร่วมรณรงค์ ขับขี่รถด้วยความปลดภัย จำนวน 60 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200บาท

รวมเป็นเงิน 3,650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3650.00

กิจกรรมที่ 5 กีฬาสร้างความสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กีฬาสร้างความสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา เพื่อกำหนดกิจกรรมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน

  2. ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการจัดกิจกรรม และ แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกิจกรรม

  3. กำหนดวันจัดกิจกรรมในการดำเนินการในกิจกรรมตามโครงการ

  4. จัดกิจกรรมตามโครงการ นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันรับประทานอาหารโดยผู้ปกครองนักเรียนนำอาหารมาจากครัวเรือน มารับประทานร่วมกัน

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน128คน
  • ผู้ปกครอง จำนวน120คน
  • ครูจำนวน15 คน
  • คณะทำงานจำนวน10คน
  • คณะกรรมการ จำนวน15คน
  • แขกผู้มีเกียรติจำนวน20คน

งบประมาณ

ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา

  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30คนคนละ25บาทเป็นเงิน 750บาท

ประชุมผู้ปกครองนักเรียน

  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

กิจกรรมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

  • อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแขกผู้มีเกียรติ จำนวน 20 คน คนละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 278 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 5,560 บาท
  • ค่าเช่าเหมาเต็นท์และโต๊ะเก้าอี้ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าเช่าเหมาเครื่องเสียงจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าอุปกรณ์กีฬา

  • ลูกฟุตบอล จำนวน 3 ลูกๆละ 750 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  • ลูกวอลเลย์บอล จำนวน 4 ลูกๆละ 850 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท
  • กระสอบป่าน จำนวน 6 ใบๆละ 50 บาทเป็นเงิน 300 บาท
  • ตาข่ายวอลเลย์บอล จำนวน 1 ผืนๆละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  • อุปกรณ์ทำสนามและสีทาพื้นสนาม ขนาด 16 ลิตร จำนวน 2 ถังๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

รวมเป็นเงิน 25,110 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครอง มีการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง

2.นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ได้ร่วมกันกำหนดมาตรในการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการป้องกันอุบติเหตุทางด้านการจราจร อย่างน้อย 5 มาตรการ

3.ร้อยละ 90 ของนักเรียน และครูร่วมกันออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25110.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย

  • คณะทำงานโครงการจำนวน5คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,084.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากการป้องกันโรคติดต่อ และการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน
2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากลดลง และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
3. อัตรากาป่วยด้วยโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออดลดลง
4. นักเรียนสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นและอุบัติเหตุภายในโรงเรียนและชุมชนลดลง
5. นักเรียนและผู้ปกครอง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว


>