กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์รักในครอบครัว
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ
กลุ่มคน
1.นายนพรัตน์ เกษม
2.นางจุฑาพร สันจิตร
3.นายประพันธุ์ กองบก
4.นางสุไนละ สัสดี
5.นางจริยา สอเหลบ
3.
หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบัน มีความเจริญทางด้านวัตถุ และเทคโนโลยี ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้การดำรงชีพในครอบครัวต้องแข่งขัน รายได้ กับรายจ่าย ก่อให้เกิดปัญหา แล้วยังส่งผลต่อการดำรงชีวิต ปัญหาสุขภาพ เป็นปัญหาหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการบั่นทอนต่อการทำงาน การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นกิจอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่จะส่งผลให้การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กที่กำลังเจริญก้าวไกล ทำให้ช้าลง

จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ พบปัญหาเกี่ยวกับโรคโรคฟันผุ โรคปริทันต์ จำนวน 53 คน คิดเป็น ร้อยละ 41.41 สาเหตุจากการที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพช่องปาก ขาดความรู้และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่แปรงฟันก่อนนอน พร้อมทั้งผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักถึงปัญหานี้เท่าที่ควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กเป็นอย่างมาก และพื้นที่โรงเรียนบ้านควานฟ้าแลบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีเขตบริการนักเรียนดังนี้ คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 9 ในสภาพพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง พบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนร้อยละ 30 นักเรียนส่วนหนึ่งนำรถจักรยานในการเดินมาโรงเรียน และนักเรียนยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้รถบนท้องถนน ไม่ระมัดระวังในการใช้รถ ขับรถด้วยความประมาท ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง นักเรียนและผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจร ความประมาท เนื่องจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบเชื่อมต่อถนนสายหลัก ระหว่างชุมชน ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้รถ การสวมหมวกนิรภัย การไม่ประมาท ย่อมจะลดภาวะความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุได้ ปัญหาที่พบอีกอย่างหนึ่งในชุมชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 20 ไข้เลือดออก ปี 2560 – 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 2, 12 และ 21 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 1327.43, 758.53 และ 131.75 ตามลำดับ ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสุขภาพของนักเรียน ถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ส่วนหนึ่งก็สามารถป้องกันตนเองได้ นอกจากการส่งเสริมเรื่องสุขภาพของนักเรียนแล้ว กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการรู้จักการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเครียด สร้างภูมิคุ้มกันโรค สุขภาพแข็งแรงทั้งยังร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ดี การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งส่งผลที่ดีกับสุขภาพของนักเรียนเป็นอย่างมาก

โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์รักในครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียน ให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การป้องกันโรค การป้องกันอุบัติเหตุ และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและโรงเรียนโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมให้ความรู้กับนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก การป้องกันโรคและการป้องกันอุบัติเหตุ
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากเพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 3. ร้อยละ90ของผู้ปกครองมีการสวมหมวกกันน็อกและเข็มขัดนิรภัยเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจรจากการนำนักเรียนมาโรงเรียนโดยยานพาหนะส่วนบุคคล
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้นและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปากโดยทันตแพทย์หรือบุคลากรเกี่ยวกับทันตกรรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข และส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกวิธีกับผู้เชี่ยวชาญของทันตแพทย์
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อลดอัตราการป่วยของนักเรียน และครูด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : 1. อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง - โรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร - โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ลดลงจากเดิมอย่างน้อย ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมระหว่างสถาบันโรงเรียนกับครอบครัว
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครอง มีการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง 2.นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ได้ร่วมกันกำหนดมาตรในการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการป้องกันอุบติเหตุทางด้านการจราจร อย่างน้อย 5 มาตรการ 3. ร้อยละ 90 ของนักเรียน และครูร่วมกันออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

    2.ให้ความรู้ในการจัดกิจกรรมในแต่ละฐานการเรียนรู้ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพปาก เช่น

    • ด้านสุขภาพเหงือกและฟัน การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

    • การควบคุมป้องกันโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น

      • การป้องกันอุบัติเหตุ ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณไฟจราจร และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบให้เหมาะกับการพัฒนาการของเด็กระดับประถมศึกษา

    3.ประเมินความรู้หลังการอบรม

    เป้าหมาย

    • นักเรียน128 คน
    • ผู้ปกครอง120 คน
    • คณะทำงาน20 คน

      รวม 268 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 268คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 17,420บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ร่วมโครงการ จำนวน 268คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 13,400 บาท
    • ไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 ×3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 675บาท เป็นเงิน 675บาท
    • ไวนิลกิจกรรมในแต่ละฐาน จำนวน 3 ฐาน ขนาด 1.5 × 3 เมตร จำนวน 3ผืน ๆละ 675บาท เป็นเงิน 2,025 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ท่าน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เป็นเงิน 6,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 43,120 บาท

    งบประมาณ 43,120.00 บาท
  • 2. ส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้นักเรียน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ครูประจำชั้นคัดเลือกแกนนำนักเรียนแต่ละชั้นเรียน ห้องเรียนละ 2 คน

    2. รณรงค์ให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน

    3. แกนนำตรวจสอบการแปรงฟันหลังอาหาร พร้อมบันทึกผล

    4. กรณีเด็กฟันผุ ให้แกนนำนักเรียนรายงานผลครูเพื่อทราบ แจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ และส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล

    5. ห้องเรียนแต่ละชั้นมุมส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก

    เป้าหมาย

    • นักเรียนจำนวน 128คน

    งบประมาณ

    • ค่าป้ายไวนิล ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี ขนาด 1.2 × 2.4 จำนวน 8ผืน เป็นเงิน 3,456บาท

    รวมเป็นเงิน 3,456 บาท

    งบประมาณ 3,456.00 บาท
  • 3. รณรงค์ป้องกันโรค
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. นักเรียนและครูเดินรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ ราไข้หวัดไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โดยการจัดกิจกรรมให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล พร้อมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่ก่อให้เกิดโรคในชุมชน

    2. จัดกิจกรรมการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนและห้องน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง

    3. กรณีที่พบนักเรียนป่วย หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโรงเรียนดำเนินการแจ้งสาธารณสุขโดยเร็วเพื่อดำเนินการป้องกันและสอบสวนโรคต่อไป

    เป้าหมาย

    • นักเรียนจำนวน128คน
    • ครู จำนวน15คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนและครู จำนวน 143 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาทเป็นเงิน 2,860 บาท
    • ป้ายไวนิล การรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก ในการปฏิบัติตนเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ จำนวน 9 ป้าย ขนาด 1.2 ×2.4 เมตร ป้ายละ 432 บาทเป็นเงิน 3,888 บาท

    รวมเป็นเงิน 6,748 บาท

    งบประมาณ 6,748.00 บาท
  • 4. ใช้ถนนปลอดภัย ร่วมใจ ป้องกันอุบัติเหตุ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา ปรึกษาหารือเกี่ยวกับ การใช้มาตรการในโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย การจัดทำป้ายจราจร การใช้รถใช้ถนนภายในโรงเรียน

    2. รณรงค์ให้นักเรียนขับขี่รถโดยสวมหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

    เป้าหมาย

    • คณะครูจำนวน11 คน
    • คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน15คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุม จำนวน 26 คนๆละ 1 มื้อ มื้อละ 25บาท เป็นเงิน 650บาท
    • ป้ายไวนิลเครื่องหมายจราจร เครื่องหมายเตือน เครื่องหมายประกาศ ขนาด1 ×2เมตร จำนวน 6 ป้ายๆละ300บาท เป็นเงิน1,800บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ปกครองและนักเรียนร่วมรณรงค์ ขับขี่รถด้วยความปลดภัย จำนวน 60 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200บาท

    รวมเป็นเงิน 3,650 บาท

    งบประมาณ 3,650.00 บาท
  • 5. กีฬาสร้างความสัมพันธ์
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา เพื่อกำหนดกิจกรรมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียนผู้ปกครองนักเรียน

    2. ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการจัดกิจกรรม และ แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกิจกรรม

    3. กำหนดวันจัดกิจกรรมในการดำเนินการในกิจกรรมตามโครงการ

    4. จัดกิจกรรมตามโครงการ นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันรับประทานอาหารโดยผู้ปกครองนักเรียนนำอาหารมาจากครัวเรือน มารับประทานร่วมกัน

    เป้าหมาย

    • นักเรียน จำนวน128คน
    • ผู้ปกครอง จำนวน120คน
    • ครูจำนวน15 คน
    • คณะทำงานจำนวน10คน
    • คณะกรรมการ จำนวน15คน
    • แขกผู้มีเกียรติจำนวน20คน

    งบประมาณ

    ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา

    • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30คนคนละ25บาทเป็นเงิน 750บาท

    ประชุมผู้ปกครองนักเรียน

    • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

    กิจกรรมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

    • อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแขกผู้มีเกียรติ จำนวน 20 คน คนละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
    • อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 278 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 5,560 บาท
    • ค่าเช่าเหมาเต็นท์และโต๊ะเก้าอี้ เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าเช่าเหมาเครื่องเสียงจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท

    ค่าอุปกรณ์กีฬา

    • ลูกฟุตบอล จำนวน 3 ลูกๆละ 750 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
    • ลูกวอลเลย์บอล จำนวน 4 ลูกๆละ 850 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท
    • กระสอบป่าน จำนวน 6 ใบๆละ 50 บาทเป็นเงิน 300 บาท
    • ตาข่ายวอลเลย์บอล จำนวน 1 ผืนๆละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท
    • อุปกรณ์ทำสนามและสีทาพื้นสนาม ขนาด 16 ลิตร จำนวน 2 ถังๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 25,110 บาท

    งบประมาณ 25,110.00 บาท
  • 6. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    เป้าหมาย

    • คณะทำงานโครงการจำนวน5คน

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 83,084.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากการป้องกันโรคติดต่อ และการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากลดลง และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  3. อัตรากาป่วยด้วยโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออดลดลง
  4. นักเรียนสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นและอุบัติเหตุภายในโรงเรียนและชุมชนลดลง
  5. นักเรียนและผู้ปกครอง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 83,084.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................