กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจูงมือกัน ฝากครรภ์ตามเกณฑ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง

ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตโดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน
กรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานโครงการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ในบริบทประเทศไทยหรือ ANC คุณภาพ ได้ปรับองค์ประกอบของระบบดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงเป็นจำนวน 5 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมบริการที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับจากข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 68.07 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ72.74จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงมีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวนทั้งสิ้น 104 คนอาสาสมัครสาธารณสุข 1 คนรับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงในเขตรับผิดชอบ 10-15 หลังคาเรือนดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขจึงมีความสำคัญในการกระจายข่าวสาร การติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ได้ตามเกณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงได้เห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการจูงมือกัน ฝากครรภ์ตามเกณฑ์เพื่อให้อสม.ได้ช่วยดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตรับผิดชอบขณะหญิงตั้งครรภ์ให้มีความรู้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ มาฝากครรภ์ตามนัดและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์

ความครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 5ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ80

0.00
3 หญิงตั้งครรภ์ที่มีอสม.ดูแลเป็นรายบุคคลมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอสม.ดูแลเป็นรายบุคคลมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

0.00
4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนร่วมกับอสม.เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือให้อสม.แต่ละหมู่ร่วมทำทะเบียนรายชื่อหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของตนเองโดยให้อสม.1 คนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ 1 คนกลุ่มเป้าหมาย 52 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนร่วมกับอสม.เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือให้อสม.แต่ละหมู่ร่วมทำทะเบียนรายชื่อหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของตนเองโดยให้อสม.1 คนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ 1 คนกลุ่มเป้าหมาย 52 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x52 คน                =3,120บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ25บ.x52คน =2,600 บ. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2x4 ม.2,000 x1 ป้าย = 2,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

52 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7720.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม.แกนนำด้านอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มเป้าหมาย 52 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม.แกนนำด้านอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มเป้าหมาย 52 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 600 บ.x5 ชม.                    =3,000บ. ค่าอาหารกลางวัน60บ.x52 คน  =3,120 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ25บ.x52คน =2,600 บ. คู่มือปฏิบัติงานอสม.อนามัยแม่และเด็ก เล่มละ 100x52 = 5,200 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

52 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13920.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเป้าหมาย 52 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเป้าหมาย 52 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำคู่มือฉบับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดเล่มละ 120 x52 =6,240บ. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินก่อนและหลังการให้ความรู้  ชุดละ 20 บ.x52 คน  =  1,040บ. ค่าวัสดุ/อุกรณ์  = 1,000 บ. ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 ชม.                     = 1,200 บ. ค่าอาหารกลางวัน60 บ.x 17 คน                         = 1,020 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บ.x 17คน = 850 บ.

ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 ชม.                     = 1,200 บ. ค่าอาหารกลางวัน60 บ.x 17 คน                         = 1,020 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บ.x 17คน = 850 บ.


ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 ชม.                     = 1,200 บ. ค่าอาหารกลางวัน60 บ.x 18 คน                         = 1,080 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บ.x 18คน= 900 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

52 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงทุกคน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝาก
ครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดตามกลุ่มความเสี่ยงเป็นรายบุคคลได้อย่างมีคุณภาพ
3. แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิง หลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม


>