กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง รหัส กปท. L5189

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการจูงมือกัน ฝากครรภ์ตามเกณฑ์
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง
3.
หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตโดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน กรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานโครงการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ในบริบทประเทศไทยหรือ ANC คุณภาพ ได้ปรับองค์ประกอบของระบบดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงเป็นจำนวน 5 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมบริการที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับจากข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิง ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 68.07 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ72.74จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงมีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวนทั้งสิ้น 104 คนอาสาสมัครสาธารณสุข 1 คนรับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงในเขตรับผิดชอบ 10-15 หลังคาเรือนดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขจึงมีความสำคัญในการกระจายข่าวสาร การติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ได้ตามเกณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงได้เห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการจูงมือกัน ฝากครรภ์ตามเกณฑ์เพื่อให้อสม.ได้ช่วยดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตรับผิดชอบขณะหญิงตั้งครรภ์ให้มีความรู้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ มาฝากครรภ์ตามนัดและสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
    ตัวชี้วัด : ความครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 5ครั้งตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอสม.ดูแลเป็นรายบุคคลมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ที่มีอสม.ดูแลเป็นรายบุคคลมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์ ร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมวางแผนร่วมกับอสม.เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือให้อสม.แต่ละหมู่ร่วมทำทะเบียนรายชื่อหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของตนเองโดยให้อสม.1 คนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ 1 คนกลุ่มเป้าหมาย 52 คน
    รายละเอียด

    ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x52 คน                =3,120บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ25บ.x52คน =2,600 บ. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2x4 ม.2,000 x1 ป้าย = 2,000 บ.

    งบประมาณ 7,720.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม.แกนนำด้านอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มเป้าหมาย 52 คน
    รายละเอียด

    ค่าวิทยากร 600 บ.x5 ชม.                    =3,000บ. ค่าอาหารกลางวัน60บ.x52 คน  =3,120 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ25บ.x52คน =2,600 บ. คู่มือปฏิบัติงานอสม.อนามัยแม่และเด็ก เล่มละ 100x52 = 5,200 บ.

    งบประมาณ 13,920.00 บาท
  • 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเป้าหมาย 52 คน
    รายละเอียด

    ค่าจัดทำคู่มือฉบับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดเล่มละ 120 x52 =6,240บ. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินก่อนและหลังการให้ความรู้  ชุดละ 20 บ.x52 คน  =  1,040บ. ค่าวัสดุ/อุกรณ์  = 1,000 บ. ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 ชม.                    = 1,200 บ. ค่าอาหารกลางวัน60 บ.x 17 คน                        = 1,020 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บ.x 17คน = 850 บ.

    ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 ชม.                    = 1,200 บ. ค่าอาหารกลางวัน60 บ.x 17 คน                        = 1,020 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บ.x 17คน = 850 บ.


    ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 ชม.                    = 1,200 บ. ค่าอาหารกลางวัน60 บ.x 18 คน                        = 1,080 บ. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บ.x 18คน= 900 บ.

    งบประมาณ 17,600.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 39,240.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุชิงทุกคน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝาก ครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดตามกลุ่มความเสี่ยงเป็นรายบุคคลได้อย่างมีคุณภาพ
  3. แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิง หลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง รหัส กปท. L5189

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง รหัส กปท. L5189

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 39,240.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................