กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์ควบคุมโรคติดต่อตำบลบาโหย และการควบคุมโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โควิด-19 และโรคติดต่ออื่นๆ อย่างบูรณาการ ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์ควบคุมโรคติดต่อตำบลบาโหย และการควบคุมโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โควิด-19 และโรคติดต่ออื่นๆ อย่างบูรณาการ ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

รพ.สต.บาโหย และในพื้นที่ตำบลบาโหยทุกหมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)

 

50.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

13.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

13.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาวัสดุควบคุมป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุควบคุมป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าครุภัณฑ์เครื่อง ULV สำหรับฉีดพ่นสารเคมีควบคุมโรค พร้อมอุปกรณ์    เป็นเงิน   20,000  บาท
  • หน้ากาก N95 (ไวรัส/PM0.5) ชิ้นละ 120 บาท จำนวน 10 ชิ้น            เป็นเงิน     1,200 บาท
  • ค่าแกลลอนน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมฉลากแสดงส่วนผสมและหน่วยงานผู้ใช้ ขนาด 20 ลิตร  จำนวน 10 แกลลอน ๆ ละ 100 บาท   เป็นเงิน    1,000 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องพ่นฯ (ชนิดเบนซิน 91/95) ลิตรละ 30 บาท จำนวน 30 ลิตร เป็นเงิน     900  บาท
  • ค่าน้ำมันผสมน้ำยากำจัดแมลง (ชนิดดีเซล) ลิตรละ 30 บาท จำนวน 80 ลิตร     เป็นเงิน   2,400  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุพร้อมในการทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25500.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำสื่อ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำสื่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารสื่อเอกสาร/ไวนิล ประชาสัมพันธ์โรค ในชุมชน 1 ชุด                เป็นเงิน   1,000 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรมทีมปฏิบัติ/ ทีม จพต.  จำนวน 20 ชุด ชุดละ 50 บาท     เป็นเงิน   1,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อพร้อมใช้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพนักงานควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมพนักงานควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท จำนวน 30 คน            เป็นเงิน   1,500  บาท
  • ค่าอาหารว่าง  จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 30 คน                เป็นเงิน   1,500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรม 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 ปฏิบัติงานควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติงานควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการฯ (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2552   เป็นเงิน   1,500  บาท
  • ค่าจ้างควบคุมโรคในชุมชน (พ่นสารเคมีULV/หมอกควัน) ครั้งละ 200 บาท จำนวน 15 ครั้ง  เป็นเงิน  3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ควบคุมการระบาดไม่ให้โรคแพร่กระจาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :
และการควบคุมโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โควิด-19 และโรคติดต่ออื่นๆ อย่างบูรณาการ ปี 2563”
ตำบลบาโหยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเขตชายแดนภาคใต้มีโรคระบาดและโรคประจำถิ่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนูซึ่งเป็นพื้นที่รังโรคและมีประวัติผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะไข้มาลาเรียสูงสุดในจังหวัดสงขลามีประวัติการเสียชีวิตจากเชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง (p.f.) โดยขณะนึ้มีการระบาดในเชื้อชนิด p.v.(ปี 2562 จำนวน 13 ราย) แม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่การรักษา ควบคุมโรคทำได้ยากกว่า อีกทั้งโรคไข้เลือดออก และโรคชิกุนคุนยา นอกจากนี้ยังมีโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น ประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ เป็นต้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วย ผู้ป่วยสงสัยโรคไอกรน อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอัตราต่ำกว่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แต่มีการปฏิเสธวัคซีน การเคลื่อนย้าย และประชากรแฝงในพื้นที่จำนวนมาก ทั้งไทยและต่างด้าว ทำให้มีความเสี่ยงสูงสุดในพื้นที่จังหวัดสงขลา
จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้หน่วยบริการในพื้นที่ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (จพต.) ตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และ SRRT เดิม ซึ่งจะยกระดับเป็น หน่วย CDCU ชุมชนเครือข่ายชุมชนเช่น อสม.ในการเตรียมความพร้อม ด้านคน เงิน ของ เพื่อการตอบโต้สถานการณ์อย่างทันท่วงที อันจะหยุดยั้งการระบาดและสูญเสียชีวิตของประชากรในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด โดยจะกำหนด ให้ รพ.สต.เป็น“ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อตำบลบาโหย” ทำหน้าที่ควบคุมร่วมมือกับเครือข่ายชุมชน ผู้นำชุมชนอสม. องค์กรรัฐ และเอกชน ต่อสู้กับปัญหาโรคติดต่ออย่างมีประสิทธิภาพตามกฎหมาย
ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค (โรคติดต่อ) และเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมโรค (มาตรฐาน DHS/SRRT) และให้สามารถป้องกันโรคประจำถิ่นโรคระบาดในพื้นที่ (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตรายพ.ศ. 2559 / ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559เป็นต้น)
ทั้งนี้ นายก อบต.และ ปลัด อบต. ในคณะกรรมการกองทุนฯนี้ เป็น จพต. โดยตำแหน่ง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ศูนย์ควบคุมโรคฯ มีประสิทธิภาพในระบบป้องกันและควบคุมโรคตามมาตรฐาน
2. ทีม จพต. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐาน ทำให้ลดการแพร่กระจายโรค


>