กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบสาธารณสุขในสถานการณ์ภัยพิบัติและหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ตำบลบาโหย ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

1. ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังภัยพิบัติด้านสาธารณสุข ณ รพ.สต.บาโหย2. ดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ภัยพิบัติ/หน่วยเคลื่อนที่ ในพื้นที่ตำบลบาโหยทุกหมู่บ้าน (อาจดำเนินการคาบเกี่ยวในพื้นที่รอยต่อตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา/สนับสนุนทีมงานภายนอก เช่น พอ.สว. หน่วยแพทย์เคลื่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งที่ประชาชน/ชุมชนต้องการหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่

 

10.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(คน)

 

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(คน)

100.00 50.00
2 จำนวนครั้งที่ประชาชน/ชุมชนต้องการหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่

สามารถออกปฏิบัติงานสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกได้ทั่วถึง

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาอุปกรณ์สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างทำ เอกสารเผยแพร่ ป้าย สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ชุด    เป็นเงิน   1,000  บาท
    • ค่าครุภัณฑ์ เต็นท์ผ้าใบ เต็นท์สนาม พร้อมชุดสนาม จำนวน 1 ชุด  เป็นเงิน   3,000  บาท
    • ค่าวัสดุ ชุดกู้ภัยทางสาธารณสุข                    เป็นเงิน   1,000  บาท
    • ค่าวัสดุ กล่องพลาสติกขนส่งยา จำนวน 6 ชิ้น ชิ้นละ 300 บาท  เป็นเงิน   1,800  บาท
    • ค่าวัสดุ กล่องพลาสติกบรรจุยา จำนวน 20 ชิ้น ชิ้นละ   50 บาท  เป็นเงิน   1,000  บาท
    • ค่าวัสดุ ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาสำหรับจุดบริการเคลื่อนที่ เป็นเงิน   1,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่มีความพร้อมบริการในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดบริการเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทน การปฏิบัติงานเชิงรุกนอกเวลาราชการ      เป็นเงิน   1,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนได้รับบริการตามความจำเป็น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ตำบลบาโหยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเขตชายแดนภาคใต้มีโรคระบาดและโรคประจำถิ่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีสถานการณ์ความไม่สงบ และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัย ความทุรกันดารโรคภัยและภัยธรรมชาติ ทำให้ประชากรดำรงชีวิตย่างยากลำบาก การเข้าถึงบริการสาธารณสุขค่อนข้างยาก ไม่ทั่วถึงและในปัจจุบันหน่วยงานยังไม่สามารถจัดโรงพยาบาลสนามหรือหน่วยพยาบาลในชุมชนอย่างมีมาตรฐาน
ปัจจุบันการบริการเชิงรุกได้รับสนับสนุนหน่วยแพทย์ พอ.สว. ปีละ 2 วัน ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านไร่เหนือ (สำนักสงฆ์ท่าช้าง) และหมูที่ 5 บ้านคลองตาหงา (มัสยิดบ้านคลองตาหงา) ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และยังไม่มีมาตรการรองรับสนับสนุนเตรียมความพร้อมให้ชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมชุมชนบ่อยครั้ง กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมชุมชนของ อบต. โรงเรียน อุทยานแห่งชาติ และกิจกรรมของหน่วยงานภายนอกอื่นๆ
จึงจำเป็นต้องสร้างกระบวนการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สาธารณสุขในสถานการณ์ภัยพิบัติซึ่งสอดคลองกับคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ที่มอบหมายให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหยเป็นผู้รับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบสาธารณสุข ในสถานการณ์ภัยพิบัติโดยทั้งนี้หมายรวมภัยสุขภาพทุกชนิด

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังภัยพิบัติด้านสาธารณสุข มีมาตรฐาน
2. ประชาชนเข้าถึงการดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ภัยพิบัติ/หน่วยเคลื่อนที่ ในพื้นที่ตำบลบาโหยทุกหมู่บ้าน


>