กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุมโรคภายใต้สถานการณ์ระบาดหรือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพ ตำบลบาโหย ปี 2563 (เฉพาะกิจ โรคโควิด-19)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคภายใต้สถานการณ์ระบาดหรือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพ ตำบลบาโหย ปี 2563 (เฉพาะกิจ โรคโควิด-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ตามคำสั่ง รพ.สต.บาโหย ที่ 24/2563
1.นายเอกชัย รัตนมณี
2.นายสิทธิโชติ อุตทิพย์
3.นายถาวร สุวรรณรัตน์
4.นายสุชล ชุมนวล
5.นายเริก ไชยทวีไชย
6.น.ส.สุรีรัตน์ หลวงไชย
7.น.ส.กัญญา สุทธวงค์
8.น.ส.กาญจนา เมโธ

1. ควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลบาโหยทุกหมู่บ้าน (หรือตามมติคณะกรรมการควบคุมโรค อ.สะบ้าย้อย) 2. ศูนย์ควบคุมโรคฯ/ศบค. ตำบลบาโหย ตั้ง ณ รพ.สต.บาโหย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19

 

4,500.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมต่อโรคระบาดและสถานการณ์ผิดปกติทางสาธารณสุข เฉพาะโควิด-19 สำหรับประชาชนตำบลบาโหยที่ต้องเฝ้าระวัง 200 คน

ประชาชนได้รับบริการ เช่น กักกันที่บ้าน ศบค. มีทรัพยากร/อุปกรณ์/เครื่องมือที่จำเป็น (ตรวจ/นิเทศ โดย สสอ.)    เป้าหมาย – วัสดุถูกจัดเตรียมไว้อย่างปลอดภัย คงคลังเพียงพอ และนำออกใช้สะดวก

200.00 200.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหยมีเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน จำนวน 2 คน คือ นายดวน สุวรรณโณ ผอ.รพ.สต.บาโหย และนายเอกชัยรัตนมณี โดยเป็นผู้ผ่านหลักสูตร CDCU ของ สสจ.สงขลา ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าทีมควบคุมโรค ในทีมควบคุมโรคตำบลบาโหย (ยกระดับตามกฎหมายจากทีม SRRT เดิม) โดยตั้งศูนย์ประสานงาน 3 ฝ่าย (สาธารณสุขฝ่ายปกครอง และองค์การบริหารส่วนตำบล) เฉพาะกิจ ชื่อศูนย์ควบคุมโรคตำบลบาโหยในถสานการณ์ปกติ และชื่อ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ตำบลบาโหย ในระยะเผชิญโรคในขณะนี้ ณ รพ.สต.บาโหย เนื่องจาก อบต.บาโหย ไม่มีส่วนงานสาธารณสุขตามกฎหมาย และหน่วยงานในชุมชนใช้ที่ทำการกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านเป็นจุดบัญชาการ โดยเตรียมความพร้อมบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ (ยกเว้นยาและเวชภัณฑ์) มุ่งมั่นตอบโต้ต่อโรคระบาดและสถานการณ์ผิดปกติทางสาธารณสุขที่มีประวัติสร้างความเสียหายทางสุขภาพ หรืออาจมีเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อย่างน้อย 10รายการ คือ
1. โรคมาลาเรีย (มีประวัติผู้เสียชีวิตในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และ 2)
2. โรคไข้เลือดออก (มีประวัติระบาดทั่วตำบล)
3. โรคไข้ฉี่หนู (มีประวัติผู้เสียชีวิตในพื้นที่ หมู่ที่ 1)
4. โรคไข้ชิกุนคุนยา (มีประวัติระบาดทั่วตำบล)
5. โรคไข้ไวรัสซิกา (มีประวัติระบาดตำบลรอยต่อ)
6. โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (มีประวัติระบาดทั่วตำบลในโรคหัด โรคคอตีบเสียชีวิตใน หมู่ที่ 4)
7. โรคมือเท้าปาก (มีประวัติระบาด หมู่ที่ 1 ปิด ศพด./ห้องเรียนในโรงเรียนบ้านบาโหย)
8. สถานการณ์หมอกควันจากไฟไหม้ป่า หมู่เกาะอินโดนีเซีย
9. โรค MERS (เฝ้าระวังในกลุ่มผู้เดินทางประกอบพิธฮัจญ์)
10. โรคอุบัติใหม่อื่นๆ เช่น COVID-19 เป็นต้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อม ศบค.บาโหย

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อม ศบค.บาโหย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชุดรองเท้ากางเกงป้องกันน้ำสูง อย่างน้อย 90 ซ.ม. จำนวน 1 ชิ้น           เป็นเงิน      200 บาท
  • หน้ากาก N95 /หรือชนิดอื่นๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะงานสำหรับ จพต.     เป็นเงิน   1,200 บาท
  • เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส เครื่องละ 2,000 บาท จำนวน 1 เครื่อง    เป็นเงิน   2,000 บาท
  • น้ำยากำจัดไวรัส/แบคทีเรีย ในสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ขวด/ชุด                 เป็นเงิน   1,000 บาท
  • เครื่องมือจับสัตว์น้ำโรคและกรงกักสัตว์ติดโรค   จำนวน   1 ชุด               เป็นเงิน  1,000 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องพ่นฯ /ค่าน้ำมันผสมน้ำยากำจัดแมลง              เป็นเงิน  1,880 บาท
  • ค่าเอกสารสื่อประชาสัมพันธ์โรคระบาดในชุมชน/ป้ายไวนิลจุดประสานงาน   เป็นเงิน     500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ศบค.มีความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคอย่างทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7780.00

กิจกรรมที่ 2 การปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรค โควิด-19 เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
การปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรค โควิด-19 เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการฯ (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2552   เป็นเงิน   500  บาท
  • ค่าจ้างควบคุมโรคในชุมชน (พ่นสารเคมีULV/หมอกควัน)                เป็นเงิน   500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันเวลา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หน่วยงาน ศบค. ต.บาโหย มีความมั่นคงเป็นที่พึ่งให้ชุมชนในการพร้อมรับสถานการณ์
2. ศบค. ต.บาโหย สามารถตอบโต้ต่อโรคระบาดและสถานการณ์ผิดปกติทางสาธารณสุขอย่างทันท่วงทีทำให้ลดอัตราการระบาดและความเสียหายทางสุขภาพ


>