กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และคนพิการ (CG) ตำบลบาโหย ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

เครือข่าย CG ตำบลบาโหย

1.นางจุฬาพร บุญมาก หัวหน้าเครือข่ายCG
2.นางสาวอรทัย สวัสดิ์ธรรม
3.นางสาวปรียานุช บุญญาธิการ
4.นางสาวสุมาลี มีใจตรง
5.นางกนกชล บุญญาธิการ

ประชุมร่วม CG/CM ประเมินทีมและติดตามงาน ณ รพ.สต.บาโหยเยี่ยมบ้านในพื้นที่ตำบลบาโหยทั้ง 5 หมู่บ้าน (แยกทำโดยหมอครอบครัวประจำหมู่บ้านและทีม)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

10.00
2 จำนวนคนพิการ

 

100.00

ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Caregiver หรือ CG) ตำบลบาโหย มีสมาชิก จำนวน 5 คน ได้รับการฝึกอบรมจากโรงพยาบาลสะบ้าย้อยร่วมกับสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตามหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 420ชั่วโมง ในปี 2562 มีบทบาทดูแลสุขภาพประชาชนภายใต้การควบคุมกำกับของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย
โดยร่วมกันพัฒนาบริการสุขภาพในชุมชน มีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคฝ่าย มุ่งมั่นพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพหนุนเสริมบริการในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้ อย่างแท้จริง ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาคนไข้และครอบครัวของคนไข้ แบบครบวงจรทั้งด้านสุขภาพจิตใจ สิ่งแวดล้อมชีวิตความเป็นอยู่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ. และแผนงานการดูแลระยะยาว/ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(Long Term Care : LTC) เช่นในตำบลคูหา
การมีทีม CG หมู่บ้านและตำบลเป็นแกนหลักที่ดูแลคนไข้และครอบครัวอย่างใกล้ชิดส่วนทีมอำเภอและจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วมเยี่ยมบ้านในรายที่จำเป็น ให้การดูแลคนไข้ที่จำเป็นต้องส่งต่อมาที่ รพ.รวมทั้งให้การสนับสนุนการทำงานของทีมตำบลและหมู่บ้าน ในระยะต้นที่ทีมภายนอกไม่สามารถเข้าสนับสนุนได้เต็มที่จึงมุ่งเน้นพัฒนาทีมภายในตำบล นำโดย รพ.สต. และมุ่งเน้นดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการติดบ้านติดเตียงเป็นหลัก และกลุ่มผู้สูงอายุคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น (ตามแนวทาง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย พชอ.ปี 2561) โดยในตำบลบาโหยมีเป้าหมายดังนี้
- ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3 ราย(CG ดูแลทุกราย) - ผู้ป่วยติดเตียง 2คน (CG ดูแลทุกราย)
- ติดบ้าน 5คน (CG ดูแลทุกราย) - ผู้สูงอายุ472 คน (CG ดูแลเฉพาะบางราย)
- คนพิการ 100คน (CG ดูแลเฉพาะบางราย)
ทั้งนี้เป็นการดูแลเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในรายที่ระบุรับรองโดย ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (care manager, CM) พว.ธิติสิริ ชะนีมาส (เวชปฏิบัติ)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

10.00 10.00
2 เพื่อลดจำนวนคนพิการ

จำนวนคนพิการ(คน)

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 472
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 100
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเตรียมความพร้อมกลุ่มCGและงานเอกสาร

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมความพร้อมกลุ่มCGและงานเอกสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารการจัดบริการของCG เข้าแฟ้ม  เล่มละ 150 บาท จำนวน 5 ชุด       เป็นเงิน      750  บาท
  • ค่าวัสดุเครื่องเขียน และวัสดุฝึก เช่น อุปกรณ์ทำแผนที่เดินสำรวจบ้าน          เป็นเงิน        50  บาท
  • ค่าจัดทำเอกสารส่ง CM เช่น ภาพถ่าย ใบเยี่ยมบ้าน และค่าถ่ายเอกสาร       เป็นเงิน        50  บาท
  • ค่ากล่องจัดเก็บเอกสารและวัสดุ CG ตำบลบาโหย                      เป็นเงิน      150  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มCG มีความพร้อมในการดำเนินงานเอกสาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดเตรียมวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อจัดบริการ

ชื่อกิจกรรม
การจัดเตรียมวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อจัดบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล จำนวน 5 อัน อันละ 200 บาท                     เป็นเงิน   1,000  บาท 
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 5 เครื่อง เครื่องละ 300 บาท             เป็นเงิน   1,500  บาท 
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอล จำนวน 5 เครื่อง เครื่องละ 1,300 บาท      เป็นเงิน   6,500  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่ม CG มีความพร้อมในการบริการเชิงรุก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทีม CG มีศักยภาพในการทำงานอย่างเข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้
2. ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษที่บ้านได้รับการดูแลตามมาตรฐานชุดสิทธิประโยชน์


>