กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และคนพิการ (CG) ตำบลบาโหย ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5259-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่าย CG ตำบลบาโหย
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฬาพร บุญมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 472 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
10.00
2 จำนวนคนพิการ
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Caregiver หรือ CG) ตำบลบาโหย มีสมาชิก จำนวน 5 คน ได้รับการฝึกอบรมจากโรงพยาบาลสะบ้าย้อยร่วมกับสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตามหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 420ชั่วโมง ในปี 2562 มีบทบาทดูแลสุขภาพประชาชนภายใต้การควบคุมกำกับของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย โดยร่วมกันพัฒนาบริการสุขภาพในชุมชน มีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคฝ่าย มุ่งมั่นพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพหนุนเสริมบริการในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้ อย่างแท้จริง ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาคนไข้และครอบครัวของคนไข้ แบบครบวงจรทั้งด้านสุขภาพจิตใจ สิ่งแวดล้อมชีวิตความเป็นอยู่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ. และแผนงานการดูแลระยะยาว/ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(Long Term Care : LTC) เช่นในตำบลคูหา การมีทีม CG หมู่บ้านและตำบลเป็นแกนหลักที่ดูแลคนไข้และครอบครัวอย่างใกล้ชิดส่วนทีมอำเภอและจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วมเยี่ยมบ้านในรายที่จำเป็น ให้การดูแลคนไข้ที่จำเป็นต้องส่งต่อมาที่ รพ.รวมทั้งให้การสนับสนุนการทำงานของทีมตำบลและหมู่บ้าน ในระยะต้นที่ทีมภายนอกไม่สามารถเข้าสนับสนุนได้เต็มที่จึงมุ่งเน้นพัฒนาทีมภายในตำบล นำโดย รพ.สต. และมุ่งเน้นดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการติดบ้านติดเตียงเป็นหลัก และกลุ่มผู้สูงอายุคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น (ตามแนวทาง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย พชอ.ปี 2561) โดยในตำบลบาโหยมีเป้าหมายดังนี้ - ผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3 ราย(CG ดูแลทุกราย) - ผู้ป่วยติดเตียง 2คน (CG ดูแลทุกราย) - ติดบ้าน 5คน (CG ดูแลทุกราย) - ผู้สูงอายุ472 คน (CG ดูแลเฉพาะบางราย) - คนพิการ 100คน (CG ดูแลเฉพาะบางราย) ทั้งนี้เป็นการดูแลเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในรายที่ระบุรับรองโดย ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (care manager, CM) พว.ธิติสิริ ชะนีมาส (เวชปฏิบัติ)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

10.00 10.00
2 เพื่อลดจำนวนคนพิการ

จำนวนคนพิการ(คน)

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดเตรียมความพร้อมกลุ่มCGและงานเอกสาร 0 1,000.00 -
1 พ.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 การจัดเตรียมวัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อจัดบริการ 0 9,000.00 -

-จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย แจ้งผลการดำเนินการแก่สาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย ขออนุมัติดำเนินการตามขั้นตอน -ตรวจสอบความต้องการและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานของเครือข่าย CG ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ -จัดหาวัสดุตามข้อเสนอตามผลสำรวจความต้องการปี 2562 -รวบรวม จัดทำรายการบัญชีผู้ป่วย และทะเบียนอาสาสมัคร เสนอต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพร้อมออกประกาศ และหนังสือรับรอง -ประชุมวางแผนปฏิบัติแผนจัดการสุขภาพตำบลจำนวน 1 ฉบับ (และรายบุคคล) -ออกเยี่ยมบ้านเชิงรุกโดยการสนับสนุนของผู้นำชุมชน เบื้องต้นกำหนดหมู่บ้านละ 1 วันต่อสัปดาห์เป็นอย่างน้อย อาจดำเนินการในหรือนอกเวลาราชการตามความเหมาะสม -แก้ปัญหาตามความจำเป็นของผู้ป่วย เช่น ปัญหาสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ -CM ประชุมติดตามรายเดือน ตรวจสอบการจัดกิจกรรม การดำเนินการในชุมชน -ประเมินผล สรุปผลการดำเนินโครงการ และเขียนรายงานโครงการ -นำเสนอผลการดำเนินโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีม CG มีศักยภาพในการทำงานอย่างเข้มแข็ง เข้าถึง พึ่งพาได้
  2. ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษที่บ้านได้รับการดูแลตามมาตรฐานชุดสิทธิประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2563 11:28 น.