กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) อบต.เกาะสะบ้า อ.เทพา จ.สงขลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) อบต.เกาะสะบ้า อ.เทพา จ.สงขลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

ดีอามาน รีสอร์ท หมู่ที่ 1 ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID – 19)) มีการแพร่กระจายไปยังหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 8/2563 วันที่ 31 มีนาคม 2563 ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งเตรียมการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อรองรับสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่จะเกิดขึ้น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานการดำเนินงานกับนายอำเภอและสาธารณสุขอำเภอ

การกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) เป็นการจำกัดกิจกรรมของบุคคลที่มีสุขภาพดีเนื่องจากสัมผัส (Expose) กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระหว่างช่วงที่แพร่เชื้อ (Period of communicability) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อถ้าบุคคลที่มีสุขภาพดีติดเชื้อ อย่างไรก็ดี ระยะเวลาเฝ้าสังเกตอาการจะไม่นานเกินกว่าระยะฟักตัวที่ยาวที่สุดของเชื้อก่อโรค ซึ่งในกรณีของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีระยะฟักตัวของโรคนาน 2-14 วัน ดังนั้น จึงแยกตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน

การจัดแบ่งภารกิจ เพื่อบริหารจัดการในบริเวณสถานที่ควบคุม (Quarantine area)
1. ภารกิจด้านอำนวยการและธุรการ รับผิดชอบการลงทะเบียน การสื่อสาร องค์ประกอบการใช้ชีวิตต่างๆ การรักษาความปลอดภัย การบังคับใช้กฎหมาย การดูแลด้านอาหาร อุปโภค และบริโภค รวมถึงการออกธุรการ พัสดุและการบัญชี
2. ภารกิจด้านการควบคุมและป้องกันโรคที่อาจติดต่อได้ รับผิดชอบ การคัดกรอง ตลอดจนการตรวจสอบอาการประจำวันตามนิยาม PUI การให้คำแนะนำด้านการป้องกันการติดเชื้อเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ควบคุม รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองสำหรับเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ในการตรวจยืนยัน (Swab)
3. ภารกิจด้านการรักษาพยาบาล รับผิดชอบ การดูแลรักษาพยาบาล การเจ็บป่วยทั่วไป และการดูแลทางสภาพจิตใจ สำหรับประชาชนและเจ้าหน้าที่ภายในสถานที่ควบคุม พร้อมทั้งการจัดหาอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ ที่ใช้ประกอบในการรักษาพยาบาล
4. ภารกิจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยในบริเวณสถานที่ควบคุม รับผิดชอบ การจัดการขยะ การกำกับดูแลและให้คำแนะนำในการจัดการด้านสุขาภิบาล

องค์ประกอบทางกายภาพของสถานที่ควบคุม (Quarantine area) ควรต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. ห้องนอน ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย แบบเดี่ยว แบบรวม (2-4)
2. ห้องน้ำ ทั้งแบบห้องน้ำแยกในห้องนอน หรือ ห้องน้ำรวม
3. ครัว หรือ พื้นที่ประกอบอาหารหรือแจกจ่ายอาหาร
4. พื้นที่ในการจัดการขยะ
5. พื้นที่เหมาะสมกับการรักษาความปลอดภัย
6. พื้นที่ปฐมพยาบาล
7. พื้นที่ธุรการและการประชุม
8. พื้นที่สำหรับการเยี่ยม
9. พื้นที่ในการจัดกิจกรรมอเนกประสงค์
ระเบียบปฏิบัติการอยู่ในสถานที่กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย(Quarantine)
1. ห้ามออกนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ หากมีความจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน
2. ห้ามบ้วนน้ำลาย เสมหะ สั่งน้ำมูก ลงบนพื้น
3. ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ณ จุดที่กำหนดไว้ทุกวัน ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมือถือ
4. เมื่อมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ โปรดโทรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลในพื้นที่ทันที
5. ล้างมือฟอกสบู่หรือ Alcohol gel ทุกครั้งหลังไอ จาม ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
6. ซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าเองทุกวัน หรือ นำเสื้อผ้ามาใส่ถังที่จัดไว้หน้าห้องเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ซักล้างต่อไป (แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่แยกกักในการบริหารจัดการ)
7. ทิ้งขยะมูลฝอยในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้หน้าห้อง
8. ถ้ามีความประสงค์ให้ญาติมาเยี่ยมโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงาน
9. โปรดทำความสะอาดภายในห้องพักด้วยตนเอง และนำขยะมูลฝอยทิ้งในถังขยะติดเชื้อที่จัดไว้ให้ (ควรมีผู้ทำความสะอาดให้เป็นส่วนรวมตามวงรอบ เช่น 2-3 วัน ครั้ง เป็นต้น)

การจัดการที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่กักกันเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วย (Quarantine)
1. จำนวนผู้สัมผัสโรคไม่เกิน 20 คน ให้เฝ้าสังเกตอาการในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยราชการ หรือสถานที่ตามที่กำหนดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ที่พักจะต้องมีการกั้นโซนด้วยรั้วมิดชิด ไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป มีห้องพักแยกตามจำนวนคนถูกเฝ้าสังเกตอาการพร้อมห้องน้ำส่วนตัว มี Internet โทรศัพท์ มีอุปกรณ์ทำความสะอาดห้อง มีเบอร์โทรฉุกเฉิน มีแอลกอฮอลเจลล้างมือทุกห้อง มีถังขยะสำหรับขยะติดเชื้อ มีถังติดเชื้อสำหรับใส่ผ้าเปื้อน/ใช้แล้วมี รปภ. ตรวจคนเข้าออกตลอด 24 ชั่วโมง มีการจัดทำอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่าง 2 มื้อ ส่งให้ผู้ถูกเฝ้าสังเกตอาการ มีห้องพยาบาล ซึ่งมีบุคลากรอยู่เวร 24 ชั่วโมง เพื่อติดตามเฝ้าระวังสุขภาพทุกวัน มียาสามัญ มีอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล เช่นหน้ากากอนามัย, หน้ากากอนามัยชนิด N95, ถุงมือ, เสื้อกาวน์กันน้ำ, รองเท้าบู๊ต มีน้ำยาฆ่าเชื้อ, Sodium Hypochloride มีระบบการจัดการขยะ โดยขยะจากผู้เฝ้าสังเกตอาการ จัดการแบบขยะติดเชื้อโดยจัดสถานที่กำจัดขยะภายในบริเวณสถานที่แยกกักเพื่อสังเกตอาการ มีเจ้าหน้าที่ประสานงานทำหน้าที่ประสานงานการพักอาศัย การอำนวยความสะดวกต่างๆ มีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง มีแผนกซักล้าง (ต้องทำลายเชื้อก่อนซัก)สถานที่พบญาติต้องกั้นเขตด้วยกระจกใสและสื่อสารด้วยโทรศัพท์ มีเจลล้างมือ (Alcohol Gel) วางไว้ให้บริการ โดยในหนึ่งวันจะมีเจ้าหน้าที่ทำงานดังนี้ รปภ. 2 คน, เจ้าหน้าที่ประสานงาน 1-2 คน, พยาบาล 3 คน, พนักงานทำความสะอาด 2 คน, แผนกอาหาร 3 คน, ซักรีด 2 คน, จัดการขยะ 2 คน
2. จำนวนผู้สัมผัสโรค เกิน 20 คน ให้เฝ้าสังเกตอาการในพื้นที่ทหารหรือตามที่กำหนดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ที่พักจะต้องมีการกั้นโซนด้วยรั้วมิดชิดไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป มีที่พักตามจำนวนคนถูกเฝ้าสังเกตอาการ มี Internet โทรศัพท์ มีอุปกรณ์ทำความสะอาดห้อง มีเบอร์โทรฉุกเฉิน มีแอลกอฮอลเจลล้างมือทุกห้อง มีถังขยะสำหรับขยะติดเชื้อ มีถังติดเชื้อสำหรับใส่ผ้าเปื้อน/ใช้แล้ว มีรปภ. ตรวจคนเข้าออกตลอด 24 ชั่วโมง ในพื้นที่รับผิดชอบ กรณีใช้พื้นที่ทหาร งาน รปภ. ในเขตทหารเป็นความรับผิดชอบของหน่วยทหารนั้นๆ พื้นที่นอกเขตพื้นที่ทหาร งาน รปภ. เป็นความรับผิดชอบของตำรวจ และฝ่ายปกครองในพื้นที่ มีการจัดทำอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่าง 2 มื้อ ส่งให้ผู้ถูกเฝ้าสังเกตอาการ มีห้องพยาบาลซึ่งมีเครื่องวัดอุณหภูมิที่ไม่ต้องสัมผัส มีบุคลากรอยู่เวร 24 ชั่วโมง ติดตามอาการทุกวัน มียาสามัญ มีอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากอนามัย, หน้ากากอนามัยชนิด N95, ถุงมือ, เสื้อกาวน์กันน้ำ, รองเท้าบู๊ต, มีน้ำยาฆ่าเชื้อ, Sodium Hypochloride มีระบบการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล โดยจัดการแบบขยะติดเชื้อ จัดทำสถานที่รวบรวมขยะภายในบริเวณสถานที่แยกกักเพื่อสังเกตอาการและทำลายเชื้อโรคก่อนส่งไปกำจัด ควรจัดให้ลานเฉพาะที่อากาศถ่ายเท เพื่อใช้ออกกำลังกาย เช่น เดินเล่น เพื่อลดความกังวล มีเจ้าหน้าที่ประสานงานทำหน้าที่ประสานการพักอาศัย การอำนวยความสะดวกต่างๆ มีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางวัน มีแผนกซักรีด (ต้องทำลายเชื้อก่อนซัก) สำหรับสถานที่พบญาติต้องกั้นเขตด้วยกระจกใสและสื่อสารด้วยโทรศัพท์
มีเจลล้างมือ (Alcohol Gel) วางไว้ให้บริการ โดยในหนึ่งวันจะมีเจ้าหน้าที่ทำงานดังนี้ รปภ. 2 คน, เจ้าหน้าที่ ประสานงาน 1-2 คน, พยาบาล 3 คน, พนักงานทำความสะอาด 2 คน, แผนกอาหาร 3 คน, ซักรีด 2 คน, จัดการขยะ 2 คน, เจ้าหน้าที่รวมการและทำงานร่วมกันเป็นผลัด 8-12 ชั่วโมง

ตามหนังสือ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพา ที่ สข 0432/ว 940 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2563 เรื่องมาตรการการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจ และเตรียมความพร้อมของสถานที่ในการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการนี้องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) ขึ้น เพื่อควบคุมเละสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 9
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกักกันประชาชนที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกักกันประชาชนที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าสถานที่กักกัน วันละ 700 บาท x 9 คน x 14 วัน เป็นเงิน 88,200 บาท 2.ค่าตอบแทน อปพร. วันละ 800 บาท x 14 วัน เป็นเงิน 11,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องได้
2. สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยมีหลักการในแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกักได้


>