กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลี้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนปลอดการเผา “อสม.เคาะประตูบ้าน ลดปัญหาหมอกควัน”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลี้

อสม.

นายปรเมศร์ศรีวิชัย
นายเสน่ห์ มะโนจิตต์

วัดพวงคำ หมู่ที่ 9ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลายจังหวัดในภาคเหนือต้องเผชิญกับสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันขั้นรุนแรงโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ของทุกปี ซึ่งสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกรเผาวัชพืชและเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูถัดไป ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ลอยอยู่ในอากาศเกินกว่าระดับมาตรฐาน ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว รวมทั้งบดบังทัศนวิสัยทางการบิน
ดังนั้นเพื่อให้เกิดการทำงานเชิงรุกและเสริมสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันปัญหาการเผาในที่โล่งและมลพิษทางหมอกควันอย่างต่อเนื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปวงคำจึงได้ดำเนินโครงการชุมชนปลอดการเผา “อสม.เคาะประตูบ้าน ลดปัญหาหมอกควัน”เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและให้ความร่วมมือในการงดเผาป่าและเศษวัสดุทางการเกษตร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อลดปัญหาหมอกควันได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเกิดการความเข้าใจตระหนักรู้และร่วมมือในการงดการเผาป่าและเศษวัสดุทางการเกษตร

ประชาชนหยุดการเผาป่าและเศษวัสดุทางการเกษตร อย่างเด็ดขาด ตามหวงเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100

80.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และสามารถป้องกันตนเองได้

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ร้อยละ 80

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 29/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีม อสม. สำรวจ วางแผน วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีม อสม. สำรวจ วางแผน วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีม อสม., สำรวจ วางแผน วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพเพื่อจัดทำโครงการ จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ นำเสนอแผนงานงาน/โครงการ/กิจกรรมให้คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2562 ถึง 25 ธันวาคม 2562
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงานโครงการและข้อมูลปัญหาพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต รพ.สต. บ้านปวงคำและแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต รพ.สต. บ้านปวงคำและแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขต รพ.สต. บ้านปวงคำและแกนนำชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางในการออกปฏิบัติงานใหัความรู้เข้าใจและสร้างความตระหนักการงดการเผาป่าและเศษ วัสดุทางการเกษตรและผลกระทบต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการประชุมชี้แจง/อบรมจำนวน 50 คน ๆละ 1 มื้อมื้อ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มีนาคม 2563 ถึง 26 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้ ชุมชนตระหนักรู้วางแผนและดำเนินแก้ไขปัญหาหมอกควันโดยชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ อสม.เคาะประตูลดหมอกควัน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ อสม.เคาะประตูลดหมอกควัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำเอกสารแผ่นพับข้อปฏิบัติสำหรับประชาชน ลดการเผาและลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5และให้ความรู้อันตรายต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก         2. อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับผู้นำชุมชน ออกปฏิบัติงานนำเอกสารขอความร่วมมือจากนายอำเภอลี้และแผ่นข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนมอบให้ทุกหลังคาเรือน พร้อมพบปะพูดคุยถึงข้อปฏิบัติ  สำหรับประชาชนในการลดการเผา และให้ความรู้อันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5      3. ประเมินผลการรับรู้ของประชาชน และลดการเผาป่า เผาเศษวัสดุทางการเกษตร
    ค่าเอกสารแผ่นพับ 3400 แผ่น  1700 บาทและแผ่นป้ายรณรงค์ 14 ผืน ๆละ 450 บาท 5300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนตระหนักรู้ มีการวางแผนและให้ความร่วมือในการดำเนินแก้ไขปัญหาหมอกควันโดยชุมชน งดการเผาในห้วงเวลาที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและสรุปผลการดำเนินงาน ไม่ใช้งบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2564 ถึง 27 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ไม่มี

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนตระหนักรู้วางแผนและดำเนินแก้ไขปัญหาหมอกควันโดยชุมชน
2. ประชาชนให้ความร่วมมืองดการเผา ตามห้วงเวลาที่กำหนด


>