กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ การทำยาดมสมุนไพร ในกลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ การทำยาดมสมุนไพร ในกลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

กลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่

1. นางสาวพาตีเมาะอาแว ประธานกลุ่ม
2. นางสาวซัลมา เจ๊ะอาลี รองประธานกลุ่ม
3. นางสาวนูรีดาเจ๊ะอาลีเหรัญญิก
4. นางสาวซูไวบ๊ะแวหะมะกรรมการ
5. นางสาวลอมเซาะมูนะกรรมการ

บ้านใหม่ หมู่ที่ 2ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาครจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในชุมชนรู้จักการนำพืชที่มาใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาสุขภาพและโรคภัย รู้จักพืชที่นำมาใช้เป็นสมุนไพร

 

80.00

ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมีบทบาทในการสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในรูปแบบของการร่วมกลุ่ม เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกกลุ่มและประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้เข้าร่วมกลุ่มทุกท่านจะได้รับความรู้ส่งเสริมทักษะและประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นช่วยปรับทัศนคติ เสริมสร้างความรู้ ความรัก ความสามัคคี ภายในกลุ่ม อางค์กร นั้น ๆ
เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง จึงได้จัดทำโครงการ การทำยาดมสมุนไพร ในกลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่ ประจำปี 2563 "การทำยาดมสมุนไพร" ขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มแม่บ้าน ผู้เข้าร่วมโครงการ การทำยาดมสมุนไพร ในกลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่
ในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพิ่มศักยภาพเกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริม ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการทำงานเป็นกลุ่ม ของกลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ฝึกประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรม ได้รับแนวคิดใหม่ ๆเพื่ิอนำความรู้จากกิจกรรมการฝึกอบรม มาพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านคุณชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านทำขนมอิสลามบ้านใหม่ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพรในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสมุนไพรนำไปใช้ในครัวเรือน

ชาวบ้านรู้จักนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคดูแลสุขภาพแทนยาแผนปัจจุบันร้อยละ 80

80.00 1.00
2 2 เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการร่วมกลุ่ม เกิดผลผลิต

ชาวบ้านร้อยละ 100 หักมาใช้เวลาว่างปลูกพืชสมุนไพรในครัวเรือน

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 21
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกลุ่มแม่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการคัดกรองฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกลุ่มแม่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการคัดกรองฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง จำนวน 21 คน ๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 525 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำยาดมสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำยาดมสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง  21 คน ๆ ละ  25 บาท  2 มื้อ เป็นเงิน 1,050  บาท -ค่าอาหารกลางวัน 21 คน ๆ ละ 75 บาท  1 มื้อ  เป็นเงิน 1,575 บาท
-ค่าวิทยากร 600 บาท 6 ชม.  เป็นเงิน   3,600 บาท -ค่าป้ายไวนิล  ขนาด 1 x 2 เมตร  เป็นเงิน  1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7225.00

กิจกรรมที่ 3 ผลิตยาดมสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
ผลิตยาดมสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าสมุนไพรทำยาดม  เป็นเงิน 5,000  บาท
-ค่าขวดใส่สมุนไพร 150 ขวด ๆละ  15 บาท เป็นเงิน 2,250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนมีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพรในการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสมุนไพร นำไปใช้ในครัวเรือน
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมดูแลสุขภาพตนเองและคนใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
3. ประชาชนได้มียาดมสมุนไพร ช่วยในการสูดดมเพื่อผ่อนคลายและสดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลายแก้อาการหวัด คัดจมูก
4. ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มเกิดผลิต และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>