กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การคุ้มครองผู้บริโภค (อย.น้อย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

โรงเรียนบ้านตือระ

โรงเรียนบ้านตือระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้ อย. มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน
การคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหารในโรงเรียนและชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลทั้งเพื่อตนเอง และเพื่อคนอื่น การปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสาที่จะให้ความรู้ ช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพของนักเรียน ครู ครอบครัว และชุมชน จาก การปฏิบัติจริง โดยใช้หลักการในการตรวจสอบข้อมูลที่เผยแพร่ อย่างมีเหตุมีผล เหมาะสมตามความรู้ความสามารถของนักเรียนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในด้านสุขภาพให้กับตนเองและคนรอบข้างโรงเรียนบ้านตือระเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดกิจกรรม โครงการคุ้มครองผู้บริโภค (อย.น้อย) ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค ทั้งนี้เพื่อนสุขภาพที่ดีต่อตัวผู้บริโภคเอง

 

62.00 0.00
2 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน

 

62.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 62
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2020

กำหนดเสร็จ 17/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านการบริโภคเพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านการบริโภคเพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านการบริโภคเพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน เป็นเงิน 15,450 บาท (เงินหนึ่งหมื่นห้าพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 6 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 300 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 63 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน 6,300 บาท 1.3 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 10 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 1.4 ค่าเอกสาร/ใบความรู้/ใบงาน จำนวน 57 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 17 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ทดสอบด้านการบริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ทดสอบด้านการบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ทดสอบด้านการบริโภค เป็นเงิน 5,966 บาท (เงินห้าพันเก้าร้อยหกสิบหกบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดค่าวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้     2.1 ชุดทดสอบสารปรอทในเครื่องสำอาง จำนวน 2 ชุดๆ ละ 950 บาท เป็นเงิน 1,900 บาท     2.2 ชุดทดสอบไฮโดรควิโนนในครีมทาหน้า จำนวน 2 ชุดๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท     2.3 ชุดทดสอบสารฟอร์มาลิน จำนวน 2 ชุดๆ ละ 963 บาท เป็นเงิน 1,926 บาท     2.4 ชุดทดสอบสารฟอกขาวในอาหาร จำนวน 2 ชุดๆ ละ 170 บาท เป็นเงิน 340 บาท     2.5 ชุดทดสอบสารบอแรกซ์และสารผงกรอบ จำนวน 2 ชุดๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท     2.6 ตัวอย่างอาหาร และเครื่องสำอาง จำนวน 2 ชุดๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 17 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5966.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 5,000 บาท (เงินห้าพันบาทถ้วน)     3.1 ค่าทำป้ายกิจกรรมและบอร์ดฐานการเรียนรู้ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2563 ถึง 17 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,416.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
2. สมาชิกของกลุ่มมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน และในชุมชนใกล้
3. สมาชิกของชมรมสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารและเครื่องสำอางที่พบเจอในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยในเรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน สารไฮโดรควิโนน สารปรอทได้
4. นักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมใน การเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
5. นักเรียน ครูนักเรียนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีเป็นผู้บริโภคที่เข็มแข้ง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


>