กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การคุ้มครองผู้บริโภค (อย.น้อย)
รหัสโครงการ 63-L3041-2-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตือระ
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2563 - 17 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,416.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา มะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้ อย. มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน
การคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหารในโรงเรียนและชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลทั้งเพื่อตนเอง และเพื่อคนอื่น การปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสาที่จะให้ความรู้ ช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพของนักเรียน ครู ครอบครัว และชุมชน จาก การปฏิบัติจริง โดยใช้หลักการในการตรวจสอบข้อมูลที่เผยแพร่ อย่างมีเหตุมีผล เหมาะสมตามความรู้ความสามารถของนักเรียนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในด้านสุขภาพให้กับตนเองและคนรอบข้างโรงเรียนบ้านตือระเล็งเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดกิจกรรม โครงการคุ้มครองผู้บริโภค (อย.น้อย) ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค ทั้งนี้เพื่อนสุขภาพที่ดีต่อตัวผู้บริโภคเอง

 

62.00 0.00
2 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน

 

62.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,416.00 0 0.00
16 - 17 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านการบริโภคเพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน 0 15,450.00 -
16 - 17 มิ.ย. 63 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ทดสอบด้านการบริโภค 0 5,966.00 -
16 - 17 มิ.ย. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
  2. สมาชิกของกลุ่มมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน และในชุมชนใกล้
    1. สมาชิกของชมรมสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารและเครื่องสำอางที่พบเจอในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยในเรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลิน สารไฮโดรควิโนน สารปรอทได้
    2. นักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมใน การเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
    3. นักเรียน ครูนักเรียนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดีเป็นผู้บริโภคที่เข็มแข้ง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2563 00:00 น.