กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

ตำบลละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลกซึ่งแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ ๑๑ ล้านคนและตายจากโรคมะเร็ง ๗ ล้านคน โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรก การป้องที่ดีที่สุดคือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนัก การกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับ๑และอันดับ๒ ของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเต้านมโดยการตรวจคัดกรองและมะเร็งปากมดลูกต้องมรการค้นหาโดยการตรวจคัดกรองด้วยการทำPapsmear ในกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ๓๐-๖๐ ปี ซึ่งช่วยลดอัตราเกิดและอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ปี พ.ศ.๒๕๖๓ จำนวน ๗๘๖ ราย จากจำนวนกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐- ๗๐ ปีทั้งหมด ๑,๖๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๖๐ พบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน ๑ ราย สำหรับมะเร็งปากมดลูกคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี จำนวน๒๑๒ คน จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑,๓๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๐๑พบความผิดปกติที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๑ ราย ซึ่งผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ปี ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดให้คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ให้ครบ ๑๐๐% ในปีพศ. ๒๕๖๘ ในระยะเวลา ๕ ปี (เริ่มปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๘ )ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันมากกว่าการรักษาโรคโดยเฉพาะการตรวจคัดกรองค้นหาโรคระยะแรกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและตรวจคัดกรองหา Cell มะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Papsmear เพื่อค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติของcell มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองและผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมจากบุคลาการสาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ และสามารถผ่านทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาCell ผิดปกติของปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ๒๐/ปี คิดผลงานสะสมรวม ๕ ปี (เริ่มปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๘ ผลงานรวมสะสมต้องผ่านเกณฑ์ ๑๐๐% ในปีงบประมาณ ๒๕๖๘)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาCell ผิดปกติของปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐
(เริ่มปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๘ ผลงานรวมสะสมต้องผ่านเกณฑ์ ๑๐๐% ในปีงบประมาณ ๒๕๖๘

0.00
3 สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ ๘๐ และสตรีกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 600
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ และสอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองโดยวิทยากรระดับอำเภอ
  • อบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิทยากรระดับอำเภอ ค่าวิทยากรชม.ละ ๓๐๐บ.X๓ชม/คน.x๖วันx๓คน   เป็นเงิน  ๕,๔๐๐บาท -ค่าอาหารว่างกลุ่มเป้าหมายมะเร็งเต้านม จำนวน ๓๐๐  คน  x ๒๕ บาท
    (รุ่นละ ๕๐ คน * ๗ หมู่บ้าน * ๗ วัน ) -จนท.ผู้ร่วมโครงการ+ทีมวิทยากรจำนวน ๑๑คน เป็นเงิน ๗,๗๗๕   บาท
    -ค่าอาหารว่าง กลุ่มเป้าหมายมะเร็ง
    ปากมดลูกจำนวน ๓๐๐ คน x ๒๕ บ.(หมู่ละ๕๐คน) -จนท.ผู้ร่วมโครงการ+ทีมวิทยากรตรวจPapsmear
    จำนวน ๑๕ คน   เป็นเงิน ๗,๘๗๕ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21050.00

กิจกรรมที่ 2 เตรียมความพร้อมคลินิกเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมคลินิกเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย -ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยจนท. ในรายที่ผิดปกติ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองและผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมจากบุคลาการสาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๒.สตรีอายุ ๓๐ -๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาCell ผิดปกติของปากมดลูก ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ ๒๐ / ปีงบประมาณ (เริ่มปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๘ ผลงานสะสมต้องผ่านเกณฑ์ ๑๐๐% ภายในระยะเวลา ๕ ปี )
๓. สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย


>