กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานความดันรายใหม่ รพ.สต.บ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานความดันรายใหม่ รพ.สต.บ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข นอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้นการค้นหา และการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ โดยถือว่า สุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด ทั้งนี้จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานพบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลรักษาโรคมากกว่าร้อยละ ๕๐ โดยนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ คือ การตรวจ ค้นหา คัดกรองตรวจสุขภาพของประชาชน และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพ เพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
จากความสำคัญข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในระดับตำบล โดยนำนโยบายด้านสาธารณสุขลงสู่การปฏิบัติแก่ประชาชนในเขตความรับผิดชอบได้เห็นความสำคัญของการดำเนินการคัดกรองและตรวจสุขภาพประชาชนตั้งแต่ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ซึ่งประกอบด้วย วัยทำงาน วัยทองและวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จึงได้ทำโครงการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานความดันรายใหม่ ปีงบประมาณ 2563 เพื่อนำผลการคัดกรองมาพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน เป็นการลดภาระโรคที่เกิดขึ้นในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานความดันรายใหม่แก่อาสาสมัคสาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนวัดความรู้ 8/10 คะแนน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 หลังการอบรม

0.00
2 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดัน

ค้นพบกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าระดับน้ำตาล/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 10 จากผู้คัดกรองทั้งหมด 1200 คน

0.00
3 เพื่ออบรม/ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจ

กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนวัดความรู้ 8/10 คะแนน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 หลังการอบรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานความดัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานความดัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย
อบรมให้ความรู้ทักษะการคัดกรอง (แกนนำอสม.โรคเรื้อรัง) แบ่งเป็น 2 วัน
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 101 คน x   1 มื้อ เป็นเงิน 5,050 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x 2 มื้อ x 101 คน เป็นเงิน 5,050 บ. - ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บ. x 6 ชม.X 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บ. รวมเป็นเงิน 13,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองความดัน ระดับน้ำตาลในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองความดัน ระดับน้ำตาลในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย     - ตรวจคัดกรองความดัน ระดับน้ำตาล         (ตรวจคัดกรองความดัน เบาหวาน หมู่ละ 200 คน) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x 200 คน x 1 มื้อ x 6 หมู่บ้าน
เป็นเงิน 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรม/ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรม/ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย - อบรมให้ความรู้หลัก 3อ ๒ ส ส่งเสริมการ       ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่ประชาชนในพื้นที่ ตรวจวัดดัชนีมวลกาย รุ่นละ 35 คน จำนวน 2 รุ่น - ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 35 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 3,500 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.  x 2 มื้อ x 35 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 3,500 บ. - ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บาท x 6 ชม. x 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บ. รวมเป็นเงิน 10,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เครือข่ายสุขภาพ มีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองสุขภาพและแนวทางในการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยความดันและโรคเบาหวาน
2. เครือข่ายสุขภาพมีทักษะในการคัดกรองโรคความดัน และโรคเบาหวาน
๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดัน
๔. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/ผู้สนใจ มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถควบคุมภาวะสุขภาพได้


>