กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามู

นางซารีฟะ เบ็ญเตาะ
นางสีตีปาตีเมาะ เบ็ญดารา
นางไมมูเนาะ เปาะวอ
นางซามูเราะ มะยี
นางสุไบด๊ะ เปาะมะ

พื้นที่บริการ เขต อบต.ยามู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารดดยไม่คำนึงถึงคุรค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัยทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่ดรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ดดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสุงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปด้วยในปัจจุบัน คนไทยเผชิญกับโรคภัยที่เรียกว่าโรควิถีชีวิต (Lifestyle Diseases) ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีข้อมูลยืนยันว่าโรคเหล่านี้เป็นภาระมากขึ้น เรื่อยๆ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ในปี 2550 มีการวัดความดันโลหิตประชาชนไทยอายุ 40 ปีขึ้นไปจำนวน 20.7 ล้าน คน พบว่ามีความดันโลหิตผิดปกติ 2.4 ล้านคน (11 %) ซึ่งจะทําให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจร้อยละ 25 และโรค หลอดเลือดสมองตีบและแตกร้อยละ 40 โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติ จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผล แทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเสียชีวิตฉับพลัน หรือเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ โรคเบาหวานก็เช่นเดียวกันเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อหลายสิบปีก่อน และ พฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ในปี 2555 มีผู้ป่วย เบาหวานรายใหม่ จำนวน 338,551 ราย เสียชีวิต 7,725 ราย คาดว่าทั่วประเทศจะมีคนป่วยด้วยโรคเบาหวาน ประมาณ 3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้ป่วยเกือบร้อยละ 50 ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคและไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ เหมาะสม จึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาแทรกซ้อนทั้งโรคไตวาย ตาบอดและเป็นสาเหตุอันดับ 2 ที่ทำให้คนไทยตาบอดรองจากต้อ กระจก โดยผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 25 การดำเนินงานคัดกรองโรคเรื้อรังโดยการตรวจสุขภาพเชิงรุก ในประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ให้ได้รับ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เพื่อจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และ กลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเอง และ ลดความเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนตำบลยามูที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และกระตุ้นให้ตระหนักต่อการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเกิดการเจ็บป่วยรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยใหม่

ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้รับการคัดกรองโดยการตรวจหาน้ำตาลในเลือด (DTX) และวัดความดันโลหิตซ้ำ

0.00
3 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

การเกิดโรคในผู้ป่วยรายใหม่ลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 22/06/2020

กำหนดเสร็จ : 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงเป้าหมาย จำนวน 30 คน เดือนละ 1 ครั้ง เป้นเวลา 3 เดือน

  • ค่าวิทยากร 2 คนคนบะ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 3 วัน เป็นเงิน 3600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 30 คน คนละ 50 บาท 3 วัน เป็นเงิน 4500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน คนละ 25 บาท วันละ 2 มื้อ 3 วัน เป็นเงิน 4500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1400 บาท
  • รวมเป็นเงิน
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 2 ออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดย อสม.และเจ้าหน้าที่ PCU

  • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลจำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 2000 บาท เป็นเงิน 8000 บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันจำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 2000 บาท เป็นเงิน 8000 บาท
  • เป็นเงิน 16000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองโรคตวามดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง
- ประชาชนที่มีความเสี่ยงได้รับคําแนะนําและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง
- ประชาชนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างถูกต้อง


>