กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 63-L3047-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามู
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารีฟะ เบ็ญเตาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพจิตร บุญทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ส.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 30,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารดดยไม่คำนึงถึงคุรค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัยทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่ดรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้ดดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสุงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปด้วยในปัจจุบัน คนไทยเผชิญกับโรคภัยที่เรียกว่าโรควิถีชีวิต (Lifestyle Diseases) ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีข้อมูลยืนยันว่าโรคเหล่านี้เป็นภาระมากขึ้น เรื่อยๆ ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ในปี 2550 มีการวัดความดันโลหิตประชาชนไทยอายุ 40 ปีขึ้นไปจำนวน 20.7 ล้าน คน พบว่ามีความดันโลหิตผิดปกติ 2.4 ล้านคน (11 %) ซึ่งจะทําให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจร้อยละ 25 และโรค หลอดเลือดสมองตีบและแตกร้อยละ 40 โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติ จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผล แทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเสียชีวิตฉับพลัน หรือเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ โรคเบาหวานก็เช่นเดียวกันเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อหลายสิบปีก่อน และ พฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ในปี 2555 มีผู้ป่วย เบาหวานรายใหม่ จำนวน 338,551 ราย เสียชีวิต 7,725 ราย คาดว่าทั่วประเทศจะมีคนป่วยด้วยโรคเบาหวาน ประมาณ 3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้ป่วยเกือบร้อยละ 50 ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคและไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ เหมาะสม จึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาแทรกซ้อนทั้งโรคไตวาย ตาบอดและเป็นสาเหตุอันดับ 2 ที่ทำให้คนไทยตาบอดรองจากต้อ กระจก โดยผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 25 การดำเนินงานคัดกรองโรคเรื้อรังโดยการตรวจสุขภาพเชิงรุก ในประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ให้ได้รับ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เพื่อจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และ กลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเอง และ ลดความเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้มีสุขภาพแข็งแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนตำบลยามูที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และกระตุ้นให้ตระหนักต่อการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเกิดการเจ็บป่วยรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยใหม่

ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้รับการคัดกรองโดยการตรวจหาน้ำตาลในเลือด (DTX) และวัดความดันโลหิตซ้ำ

0.00
3 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

การเกิดโรคในผู้ป่วยรายใหม่ลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
6 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง 0 14,000.00 -
6 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 0 16,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองโรคตวามดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง
  • ประชาชนที่มีความเสี่ยงได้รับคําแนะนําและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง
  • ประชาชนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2563 00:00 น.