กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสองวัยโภชนาการดี เพื่อชีวีมีสุขหมู่ 6 บ้านท่ามาลัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน บ้านท่ามาลัย

1.นางบัดสาระ องศารา
2.นายอัสรุต กองบก
3.นายวีระพงษ์ องศารา
4.นางสาวแอนนิต้า อาหมัน
5นายอับดุลฮาชีรองสารา

หมู่ 6 บ้านท่ามาลัยตำบลปากน้ำอำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
สืบเนืองจากปัจจุบันประชากรวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุมีปัญหาเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ บริโภคไขมันเฉลี่่ย๔๕.๖ กรัมต่อคนต่อวันซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าปริมาณที่แนะนำคือไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของพลังงานทั้งหมด บริโภคโซเดียมสูงกว่าสองเท่าจากปริมาณที่แพทย์แนะนำคือไม่เกิน๒,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน บริโภคน้ำตาลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก๑๒.๗ เป็น ๒๙.๖ กิโลกรัมต่อคนต่อปี บริโภคผัก ผลไม้ตำ่เพียงวันละ๓ส่วนจากมาตฐานที่แนะนำวันละ ๕ส่วนซึ่งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเป็นปัจจัยนำไปสู่โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง อีกทั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะไตเรื้องรังได้ ซึ่งสอดคล้องจากการสำรวจสุขภาพของประชาชนในชุมชนบ้านท่ามาลัยมีความเสี่ยงต่อโรคดั่งกล่าวจำนวนร้อยละ ๕๐ เปอเซ็นในช่วงอายุ ๑๕ ปีขึันไป ที่ผ่านมา โดยพบว่าเพศชายที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านท่ามาลัยส่วนใหญ่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้องรังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานส่วนเพศหญิงจะเกิดโรคอ้วนโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกผู้หญิงจะมีการเกิดโรคมากกว่าผู้ชายจากข้อมูลที่มีคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชนบ้านท่ามาลัย ส่วนมากในชุมชนยังมีกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคก็ยังมีมากในชุมชนซึ่งสถานณ์การปัจจุบันในช่วงการเกิดโรคระบาดโคโรนา ๒๐๑๙ ทำให้คนเกิดโรคเคลียดมากยิ่งขึ้นนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆถ้าไม่มีการอยรมให้ความรู้จัดกิจกรรมด้านโภชนาการอาหารและการออกกำลังกายมีการประเมินสุขภาพทำให้คนในชุมชนสามารถประเมินตัวเองได้
ดั่งนั้น ทางคณะกรรมการหมู่บ้านและอสมที่เป็นแก่นนำด้านสุขภาพ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อให้คนในชุมชน ๒ กลุ่มวัยคือ วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุมีสุขภาพดี จึงต้องมีมาตรการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องด้านอาหารและโภชนาการเน้นหลัก ๓ อ. ๒ ส.๑ฟ และร่วมสร้างปัจจัยเอื้อที่มีผลพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่ออบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย

ประชาชนมีความรู้โภชนาการด้านอาหารเพื่อสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายดียิ่งขึ้น

90.00
2 2เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องเหมาะสม

ประชาชนในชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

90.00
3 3.เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณในการลดอาหาร หวาน มัน เค็ม เติมเต็มผักผลไม้

เพื่อจัดทำข้อตกลงในการลดหวานมัน เค็มให้เป็นนโยบายของหมู่บ้าน

90.00
4 4เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

ประเมินความเป็นอยู่ของคนในชุมชนการดูแลสุขภาพลดโรคมีสุขภาพดี

2.00 1.00

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการมีการประเมินความรู้ก่อนอบรม กิจกรรมเข้าฐานการเรียนรู้การสาธิตประกอบอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายลดโรคลดพุงใน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการมีการประเมินความรู้ก่อนอบรม กิจกรรมเข้าฐานการเรียนรู้การสาธิตประกอบอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายลดโรคลดพุงใน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง 2 มื้อX35 บาท x 90 คน เป็นเงิน 6,300 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อx100 บาท x 90 คน เป็นเงิน 9,000 บาท 3.ค่าอุปกรณ์การอบรมเป็นเงิน500 บาท 4.ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย เป็นเงิน600 บาท 5.ค่าสถานที่เป็นเงิน2,000 บาท 6.ค่าวิทยากรจำนวน 3 คน 6 ซม.x 600 บาทเป็นเงิน10,800 บาท 7.ค่าสรุป จัดทำรายงานเป็นเงิน 1,000 บาท 8.สมุดบันทึกการดูแลสุขภาพประจำตัว 90 เล่ม เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31100.00

กิจกรรมที่ 2 เวที่จัดทำข้อตกลงร่วมกันการปรับเปลี่ยนพฤติการบริโภคและขัอตกลงการออกกำลังกายใน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน

ชื่อกิจกรรม
เวที่จัดทำข้อตกลงร่วมกันการปรับเปลี่ยนพฤติการบริโภคและขัอตกลงการออกกำลังกายใน วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อx 100 บาทx 90 คนเป็นเงิน9,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อx 90 คนx 35 บาท เป็นเงิน6,300 บาท 3.ค่าเอกสาร เป็นเงิน 500 บาท 4.ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน x6ชม. x600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อตกลงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และได้แผนการออกกำลังกายตามกลุ่มอายุ ผู้เข้าร่วมได้มีการออกกำลังกายตามช่วงอายุที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินผลกิจกรรมโครงการ จำนวน 90คน โดยให้อสมที่รับผิดชอบแต่ละเขตเป็นผู้รวบรวมผลการประเมินสุขภาพทั้ง 2กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินผลกิจกรรมโครงการ จำนวน 90คน โดยให้อสมที่รับผิดชอบแต่ละเขตเป็นผู้รวบรวมผลการประเมินสุขภาพทั้ง 2กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง 1 มื้อx 90 คนx35 บาท เป็นเงิน 3,150 บาท 2 ค่าอาหารกลางวัน 90 คนx 1 มื้อx 100 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท 3.ค่าเอกสารประเมินผลโครงการจำนวน 90 ชุดx 5 บาท เป็นเงิน 450 บาท 4.ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนx 4 ซ ม.x600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กันยายน 2563 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงสามารถทำความรู้ วิธีการและการปรุงอาหารตามโภชนาการเพื่อสุขภาพรู้วิธีการประเมินค่าดัชนีมวลกายและสภาวะความเสี่ยงที่จะเกิดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1คนในชุมชนได้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ
2.เกิดข้อตกลงในการบริโภคอาหารได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม
3.ได้แผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามกลุ่มวัย ได้พัฒนานโยบายสาธารณในการลดอาหารหวาน มันเค็ม เติมเต็มผักผลไม้และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
4ได้ติดตามสรุปประเมินผลโครงการ


>