กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ โรคเมตาบอลิก ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีบุญเรือง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ โรคเมตาบอลิก ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีบุญเรือง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีวิชัย

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีวิชัย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง

 

5.00

เมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) หมายถึง กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติด้านเมตาบอลิสม ซึ่งประกอบไปด้วย ภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะรอบเอว ภาวะไขมันในเลือดสูง (ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง เอช ดี แอลโคเลสเตอรอลต่ำ) มีความดันโลหิตสูงและภาวะดื้ออินซูลิน ที่เป็นปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจละหลอดเลือดและโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น โรคเบาหวานชนิดที่2 (Grundy et al.,2005 อ้างถึงใน “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเอง ในผู้ที่มีเมตาบอลิก ซินโดรม”โดยอรวรรณประภาศิลป์,คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2554) อุบัติการณ์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง พบว่ามี เมตาบอลิกซินโดรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 12, 14 และ 17 ตามลำดับในปี 1998 เป็นร้อยละ 18. 19 และ 22 ตามลำดับในปี 1999 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-6 ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี
สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปปี 2552 ใน 21 จังหวัดทั่วประเทศจำนวน 20,450 คน โดยวิชัย เอกพลากร (2553) พบความชุกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมถึงร้อยละ 21.1 โดยพบ ในหญิงมากกว่าชาย (ร้อยละ 23.9 และ 18.1 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบภาวะดังกล่าว เพิ่มขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยพบมากในช่วงอายุ 45-49 ปี และ 60-69 ปี (ร้อยละ 30.4 และ 38.6 ตามลำดับ)แสดงให้เห็นว่าปัญหาเมตาบอลิกซินโดรมในประชากรไทยเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้แต่ใน ประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบท (Boonyavarakul,Choosaeng,Supasyndh,&Panichkul,2555)
จากรายงานการสำรวจ พฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ.2558 ระดับเขตสุขภาพของกลุ่มพัฒนา ระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าความชุก (ร้อยละ) ประชากรในเขตสุขภาพที่ 8 อายุ 15 – 74 ปี มีภาวะ น้ำหนักเกิน (BMI > 25 กิโลกรัม/เมตร2) เพิ่มขึ้นจากปี 2553 คือร้อยละ 20.95 กิโลกรัม/เมตร2 เป็นร้อยละ25.2 กิโลกรัม/เมตร2 เพศชายมีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 17.4 เพศหญิงร้อยละ 32.7 (ภาพรวมประเทศร้อยละ30.5 กิโลกรัม/เมตร2เพศชายร้อยละ 24.7 เพศหญิงร้อยละ 35.8กิโลกรัม/เมตร2) ประชากรที่มีภาวะอ้วนร้อยละ 5.7 (ภาพรวมประเทศร้อยละ 7.5) ความชุก (ร้อยละ) ประชากร ที่ออกกำลังกายตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ภาพรวมเขต ร้อยละ 36.73 (ประเทศร้อยละ 34.5) ความชุก (ร้อยละ) ประชากรที่รับประทานผักผลไม้ > 5 หน่วยมาตรฐาน/วันภาพรวมเขต ร้อยละ 21.20(ประเทศร้อยละ 21.7)ส่วนประชากรที่สูบบุหรี่ภาพรวมเขต ร้อยละ 20.67 และพบสูงขึ้นเป็น ร้อยละ22.3 ในปี 2558ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ(ประเทศร้อยละ 21.3)ความชุก (ร้อยละ) ประชากรที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก (ชายดื่มเฉลี่ยมากกว่า 2 แก้วมาตรฐานต่อวัน หญิงดื่มมากกว่า 1 แก้วมาตรฐานต่อวัน) ภาพรวมเขต ร้อยละ 5.9 (ประเทศร้อยละ 7.3) ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2553 คือภาพรวมเขต ร้อยละ 3.33 และประเทศร้อยละ 4.30
ข้อมูลจากการรับบริการผู้ป่วยเบาหวาน ที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีวิชัย ปี พ.ศ.2558-2561มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 358, 369 392 และ 427 ราย ตามลำดับ ปี 2560 ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาทางไต และเท้า คิดเป็น ร้อยละ 15.08 , 12.84 และ12.01ตามลำดับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานต้องการความร่วมมือในการรักษา และการดูแลตนเอง จากตัวผู้ป่วยในระดับสูง โดยคำนึงถึงการจัดการปัจจัยและเหตุซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น (สารัช สุนทรโยธิน และคณะ, 2556) ในปีงบ 2561 รพ.สต.ศรีวิชัย ได้ทำการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในชุมชน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 2,652 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 51 คน ร้อยละ 5.69 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 108 คน ร้อยละ 4.43 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 23 คน ร้อยละ 0.87 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2 คน ร้อยละ 0.08 และพบว่ากลุ่มเสี่ยงฯ ในปีที่ผ่านมาพบว่าป่วยเป็นโรคร้อยละ 10.5
ดังนั้น ด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดที่คุกคามชีวิตและสุขภาวะของ ประชาชนในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีวิชัย จึงได้ จัดทำ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ โรคเมตาบอลิกปี 2563 ขึ้น โดยได้ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ และได้สร้างสมุดประจำตัว ผู้มีความเสี่ยง ต่อภาวะเบาหวานเพื่อใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างสุขภาพและมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพพร้อมทั้งสามารถประเมินความเสี่ยงได้ด้วยตนเอง และเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติเพื่อจัดการลดความเสี่ยงให้ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลด ละ เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์ได้ด้วยตนเองในระดับมาก เพิ่มมากขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นโดยวัดจากการรับรู้ความสามารถ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลด ละ เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์

45.00 75.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ

45.00 75.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง (100 – 125 มก./ดล) มีค่าลดลงจากก่อน เข้าร่วม โครงการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง (100 – 125 มก./ดล) มีค่าลดลงจากก่อนเข้า ร่วมโครงการ

46.00 75.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับ มากคิดเป็นร้อยละ

50.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงโรคเมตาบอลิก(โรคเบาหวาน)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงโรคเมตาบอลิก(โรคเบาหวาน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำสมุดสุขภาพกลุ่มเสี่ยง           - ค่าสมุดสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 เล่ม x 70 บาท    =2,100 บาท
         2. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดการตนเอง  มีค่าใช้จ่ายดังนี้
              - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 45 บาท x 1 มื้อ  x 2 วัน =2,700 บาท
              - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  x 2 วัน =3,000 บาท
              - ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม(บุคคลภาครัฐ) จำนวน 3 คน x 300 บาท x 4 ชั่วโมง =3,600 บาท
              - ค่าวัสดุสำนักงานโครงการ      =2,900 บาท
              - ค่าพาหนะผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คน x 50 บาท x 2 วัน   =3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
ผลลัพธ์ คือ พฤติกรรมสุขภาพที่ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ทำให้ดัชนีมวลกายลดลง น้ำตาลในเลือดลงลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเมตาบอลิก
2. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีการใช้สมุดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
3.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีดัชนีมวลกายลดลง
4.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
5.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับมาก


>