กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีบุญเรือง รหัส กปท. L6191

อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ โรคเมตาบอลิก ปี 2563
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีวิชัย
3.
หลักการและเหตุผล

เมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) หมายถึง กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติด้านเมตาบอลิสม ซึ่งประกอบไปด้วย ภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะรอบเอว ภาวะไขมันในเลือดสูง (ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูง เอช ดี แอลโคเลสเตอรอลต่ำ) มีความดันโลหิตสูงและภาวะดื้ออินซูลิน ที่เป็นปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจละหลอดเลือดและโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น โรคเบาหวานชนิดที่2 (Grundy et al.,2005 อ้างถึงใน “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเอง ในผู้ที่มีเมตาบอลิก ซินโดรม”โดยอรวรรณประภาศิลป์,คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2554) อุบัติการณ์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และฮ่องกง พบว่ามี เมตาบอลิกซินโดรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 12, 14 และ 17 ตามลำดับในปี 1998 เป็นร้อยละ 18. 19 และ 22 ตามลำดับในปี 1999 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-6 ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปปี 2552 ใน 21 จังหวัดทั่วประเทศจำนวน 20,450 คน โดยวิชัย เอกพลากร (2553) พบความชุกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมถึงร้อยละ 21.1 โดยพบ ในหญิงมากกว่าชาย (ร้อยละ 23.9 และ 18.1 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบภาวะดังกล่าว เพิ่มขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยพบมากในช่วงอายุ 45-49 ปี และ 60-69 ปี (ร้อยละ 30.4 และ 38.6 ตามลำดับ)แสดงให้เห็นว่าปัญหาเมตาบอลิกซินโดรมในประชากรไทยเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้แต่ใน ประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบท (Boonyavarakul,Choosaeng,Supasyndh,&Panichkul,2555) จากรายงานการสำรวจ พฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ.2558 ระดับเขตสุขภาพของกลุ่มพัฒนา ระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าความชุก (ร้อยละ) ประชากรในเขตสุขภาพที่ 8 อายุ 15 – 74 ปี มีภาวะ น้ำหนักเกิน (BMI > 25 กิโลกรัม/เมตร2) เพิ่มขึ้นจากปี 2553 คือร้อยละ 20.95 กิโลกรัม/เมตร2 เป็นร้อยละ25.2 กิโลกรัม/เมตร2 เพศชายมีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 17.4 เพศหญิงร้อยละ 32.7 (ภาพรวมประเทศร้อยละ30.5 กิโลกรัม/เมตร2เพศชายร้อยละ 24.7 เพศหญิงร้อยละ 35.8กิโลกรัม/เมตร2) ประชากรที่มีภาวะอ้วนร้อยละ 5.7 (ภาพรวมประเทศร้อยละ 7.5) ความชุก (ร้อยละ) ประชากร ที่ออกกำลังกายตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ภาพรวมเขต ร้อยละ 36.73 (ประเทศร้อยละ 34.5) ความชุก (ร้อยละ) ประชากรที่รับประทานผักผลไม้ > 5 หน่วยมาตรฐาน/วันภาพรวมเขต ร้อยละ 21.20(ประเทศร้อยละ 21.7)ส่วนประชากรที่สูบบุหรี่ภาพรวมเขต ร้อยละ 20.67 และพบสูงขึ้นเป็น ร้อยละ22.3 ในปี 2558ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ(ประเทศร้อยละ 21.3)ความชุก (ร้อยละ) ประชากรที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก (ชายดื่มเฉลี่ยมากกว่า 2 แก้วมาตรฐานต่อวัน หญิงดื่มมากกว่า 1 แก้วมาตรฐานต่อวัน) ภาพรวมเขต ร้อยละ 5.9 (ประเทศร้อยละ 7.3) ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2553 คือภาพรวมเขต ร้อยละ 3.33 และประเทศร้อยละ 4.30 ข้อมูลจากการรับบริการผู้ป่วยเบาหวาน ที่โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีวิชัย ปี พ.ศ.2558-2561มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 358, 369 392 และ 427 ราย ตามลำดับ ปี 2560 ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาทางไต และเท้า คิดเป็น ร้อยละ 15.08 , 12.84 และ12.01ตามลำดับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวานต้องการความร่วมมือในการรักษา และการดูแลตนเอง จากตัวผู้ป่วยในระดับสูง โดยคำนึงถึงการจัดการปัจจัยและเหตุซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น (สารัช สุนทรโยธิน และคณะ, 2556) ในปีงบ 2561 รพ.สต.ศรีวิชัย ได้ทำการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในชุมชน ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 2,652 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 51 คน ร้อยละ 5.69 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 108 คน ร้อยละ 4.43 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 23 คน ร้อยละ 0.87 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2 คน ร้อยละ 0.08 และพบว่ากลุ่มเสี่ยงฯ ในปีที่ผ่านมาพบว่าป่วยเป็นโรคร้อยละ 10.5
ดังนั้น ด้วยความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดที่คุกคามชีวิตและสุขภาวะของ ประชาชนในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีวิชัย จึงได้ จัดทำ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อ โรคเมตาบอลิกปี 2563 ขึ้น โดยได้ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ และได้สร้างสมุดประจำตัว ผู้มีความเสี่ยง ต่อภาวะเบาหวานเพื่อใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างสุขภาพและมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพพร้อมทั้งสามารถประเมินความเสี่ยงได้ด้วยตนเอง และเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติเพื่อจัดการลดความเสี่ยงให้ถูกต้องต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลด ละ เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์ได้ด้วยตนเองในระดับมาก เพิ่มมากขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นโดยวัดจากการรับรู้ความสามารถ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลด ละ เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์
    ขนาดปัญหา 45.00 เป้าหมาย 75.00
  • 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ มีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
    ขนาดปัญหา 45.00 เป้าหมาย 75.00
  • 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง (100 – 125 มก./ดล) มีค่าลดลงจากก่อน เข้าร่วม โครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง (100 – 125 มก./ดล) มีค่าลดลงจากก่อนเข้า ร่วมโครงการ
    ขนาดปัญหา 46.00 เป้าหมาย 75.00
  • 4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับ มากคิดเป็นร้อยละ
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 75.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงโรคเมตาบอลิก(โรคเบาหวาน)
    รายละเอียด
    1. จัดทำสมุดสุขภาพกลุ่มเสี่ยง           - ค่าสมุดสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 เล่ม x 70 บาท    =2,100 บาท
          2. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยงเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดการตนเอง  มีค่าใช้จ่ายดังนี้
                - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 45 บาท x 1 มื้อ  x 2 วัน =2,700 บาท
                - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  x 2 วัน =3,000 บาท
                - ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม(บุคคลภาครัฐ) จำนวน 3 คน x 300 บาท x 4 ชั่วโมง =3,600 บาท
                - ค่าวัสดุสำนักงานโครงการ      =2,900 บาท
                - ค่าพาหนะผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คน x 50 บาท x 2 วัน  =3,000 บาท
    งบประมาณ 17,300.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีวิชัย

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 17,300.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเมตาบอลิก 2. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีการใช้สมุดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีดัชนีมวลกายลดลง 4.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 5.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับมาก

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีบุญเรือง รหัส กปท. L6191

อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีบุญเรือง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีบุญเรือง รหัส กปท. L6191

อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 17,300.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................