กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสวัสดิการสังคม

1.นายสมชาย ชูเอียด
2.น.ส.นงลักษณ์ สืบชนะ
3.นางอภิญญา มีชัยชนะ
4.นายสถิตย์ โชติรุ่งโรจน์
5.นายสุเมธ ศศิธร

ห้องประชุมศูนย์การเรียนรู้สู่อาเซียน เทศบาลเมืองสะเดา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสวรรษ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมาย 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันสุขภาพให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยที่นานาชาติต้องการบรรลุได้ภายในปี พ.ศ.2573 ดังนั้นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13 พ.ศ.2552)มาตรา 50(6)(7) และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.พ.ศ.2542 มาตรา 16(10)(19) และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2569) ที่เน้นการเตรียมพร้อมด้านด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และจากการติดตามการดำเนินงานโครงการ "ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น"ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา 2 ปี กลุ่มเป้าหมาย 240 คน เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการไม่มีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จึงได้จัดทำโครงการป้องกันกาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และสร้างกระแสในการปรับทัศนคติค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ร้อยละของนักเรียนที่เข้ารับอากรอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบถึงหน่วยงานที่ให้คำปรึกษากรณีเกิดเหตุตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ภาวะการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ลดลง

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ร้อยละของแม่อายุ 12-15 ปีในท้องถิ่น คลอดลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประสานงานและส่งแผนการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานและส่งแผนการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม -ค่าอาหาร 1 มื้อ 75 บาท/คน จำนวน 140 คน เป็นเงิน 10500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ 25 บาท/คน จำนวน 140 คน เป็นเงิน 7000 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร -วิทยากร จำนวน 7 ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 4200 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ -ไวนิล ขนาด 3*1.5ม. จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 675 บาท -กระดาษ เอ4 จำนวน 2 รีมๆละ 120 บาท เป็นเงิน 240 บาท -เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 140 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1400 บาท -กระดาษบรูฟแผ่นใหญ่ จำนวน 20 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท -ปากกาเคมีสองหัว สีแดง น้ำเงิน ดำ จำนวน 20 ด้ามๆละ 16 บาท เป็นเงิน 320 บาท -ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน จำนวน 140 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 700 บาท -อุปกรณ์และสื่ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26135.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นเวลา 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นเวลา 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

07.30 น.-08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม 08.30 น.-09.00 น. กิจกรรมสันทนาการเตรียมความพร้อมก่อนการอบรม 09.00 น.-09.15 น. พิธีเปิด พร้อมกล่าวให้โอวาท โดย....นายสุเมธ ศศิธร นายกเทศมนตรีเมืองสะเดา 09.15 น.-10.30 น. บรรยาย เรื่อง "รักบริสุทธิ์ หยุดปัญหา พัฒนาสังคม" 10.30 น.-11.30 น. กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ เมื่อตั้งครรภ์ 11.30 น.-12.00 น.บรรยาย เรื่อง "การป้องกันตนเอง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" 12.00 น.-13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น.- 15.00 น. บรรยายเรื่อง "การแสวงหาวิชาชีวิตในสังคมยุคใหม่" 15.00น. -15.30 น.กิจกรรมฉายหนังสั้น "หนังทางเลือก"วิถีชีวิตในวัยเรียน กิจกรรมแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นและตอบโจทย์จากหนังสั้น -วิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ -เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อมต้องทำอย่างไร 15.30 น.-17.00 น.อภิปรายและนำเสนอของแต่ละกลุ่ม กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตอบข้อถาม สรุปกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2563 ถึง 23 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,135.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
2.ผู้เข้าร่วมโครงการทราบถึงหน่วยงานที่ให้คำปรึกษากรณีเกิดเหตุการณ์ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
3.ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการสร้างกรพแสในการปรับทัศนคติ ค่ายนิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และการป้องกันตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
4.ผู้เข้าร่วมโครงการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ


>