กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รหัสโครงการ 63-L7252-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,135.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมชาย ชูเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นายปิยะ แสงรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสวรรษ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมาย 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันสุขภาพให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยที่นานาชาติต้องการบรรลุได้ภายในปี พ.ศ.2573 ดังนั้นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13 พ.ศ.2552)มาตรา 50(6)(7) และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.พ.ศ.2542 มาตรา 16(10)(19) และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2560-2579) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2569) ที่เน้นการเตรียมพร้อมด้านด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และจากการติดตามการดำเนินงานโครงการ "ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น"ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา 2 ปี กลุ่มเป้าหมาย 240 คน เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการไม่มีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร จึงได้จัดทำโครงการป้องกันกาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และสร้างกระแสในการปรับทัศนคติค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ร้อยละของนักเรียนที่เข้ารับอากรอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบถึงหน่วยงานที่ให้คำปรึกษากรณีเกิดเหตุตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ภาวะการติดเชื้อเอดส์และโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ลดลง

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ร้อยละของแม่อายุ 12-15 ปีในท้องถิ่น คลอดลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,135.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 63 ประสานงานและส่งแผนการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 0 26,135.00 -
23 ก.ค. 63 ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นเวลา 1 วัน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น 2.ผู้เข้าร่วมโครงการทราบถึงหน่วยงานที่ให้คำปรึกษากรณีเกิดเหตุการณ์ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3.ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการสร้างกรพแสในการปรับทัศนคติ ค่ายนิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และการป้องกันตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 4.ผู้เข้าร่วมโครงการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 00:00 น.