กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน (SRRT) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม

1.นางสาวรุจิรา ไชยเจริญ
2.นางจินดาพร แซ่เฉีย
3.นางสมยาหวังจิ
4.นายธนเดชเตียวสกุล
5.นายกิตติ เรืองเริงกุลฤทธิ์

ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองสะเดา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ แม้ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน แต่กลับพบว่า ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ซึ่งจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2562 (ข้อมูลวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562) พบว่า มีอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออก และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นจากปี 2561 กล่าวคือในปี 2562 ประเทศไทยพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 116,462 รายโดยในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนี้ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 125 ราย และในจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2,773 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนี้ มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย โดยผู้เสียชีวิตมีภูมิลำเนาในอำเภอควนเนียงอำเภอเทพาอำเภอหาดใหญ่ส่วนรายงานสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวมจำนวนทั้งสิ้น 308 รายและไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยในกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปีคิดเป็นอัตราป่วย 71.36 ต่อประชากรแสนคนรองลงมาคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี, 15 - 24 ปี, 0 - 4 ปี, 25 - 34 ปี, 35 - 44 ปี,45 - 54 ปี, 55 - 64 ปี, 65 ปีขึ้นไปอัตราป่วยเท่ากับ 61.85,37.82,19.47,14.69,10.04, 7.74, 3.79 และ 0.76 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับและอาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน
จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว แม้ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดายังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก แต่ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้ในทุกชุมชน ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2562 มีจำนวน 78 ราย และในปี 2563 (ข้อมูลปัจจุบันเดือน ม.ค. ถึง มิ.ย.) พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยพบจำนวนผู้ป่วย 33 ราย และจากการสำรวจชุมชนพบว่า มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหลายพื้นที่ทั้ง 19 ชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก และมีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองสะเดา จึงทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน (SRRT) เพื่อดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความชุกชุมของยุงพาหะนำโรค และลูกน้ำยุงลายในพื้นที่
  • จำนวนครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10) -ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายในบริเวณวัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ค่า CI = 0 )
0.00
2 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลง

0.00
3 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนตื่นตัว และกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง
  • ประชาชนให้ความร่วมมือและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
  • ประชาชนสามารถแนะนำสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
0.00
4 ลดอัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุ

อัตราประชากรในชุมชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
5 ไม่พบอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิต

อัตราผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คุณครูอนามัย 6 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา 6
ตัวแทน อสม. ชุมชนละ 5 คน ทั้ง ๑๙ ชุมชน 95
ตัวแทนผู้นำชุมชน ๑๙ ชุมชนๆละ 5 คน 95
แกนนำนักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา 6 โรงเรียน 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1จัดตั้งทีมSurveillance and Rapid Response Team(SRRT) ทั้ง 19 ชุมชน ซึ่งประกอบด้วย แกนนำ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กิจกรรมที่2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน (SRRT)ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประสานงานกับวิทยากรเพื่อดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เป็นกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้แก่ แกนนำ,อสม. และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้ง 19 ชุมชน เพื่อสร้างเสริมศักยภาพในด้านการตระหนักถึงความอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตลอดถึงการรับผิดชอบต่อสังคม ในแง่ของการดำเนินกิจวัตรประจำวันไม่ให้ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อันทำให้เกิดโรคกับคนในชุมชนซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ส่งเสริมความรู้ให้กับ ผู้นำชุมชนอสม. และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ  ให้มีความรู้ในการดูแลตัวเองและนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม     กิจกรรมที่ 3ประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย สื่อวิทยุชุมชน แผ่นพับ ไวนิล เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนัก รวมทั้งขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่บ้าน ที่อยู่อาศัยของตนเอง(ทุกวันศุกร์)     กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning Day)ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา ทั้ง19 ชุมชน เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
73570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 73,570.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นเงินจำนวน 73,570.- บาท (เจ็ดหมื่นสามพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งค่าใช้จ่ายในกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (SRRT) เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ระเบียบ/หลักเกณฑ์/แนวทาง
1) ค่าอาหารอาหารว่าง และเครื่องดื่ม
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่มื้อละ 75 บาท๑ มื้อจำนวน236คนเป็นเงิน17,70๐.-บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่มื้อละ25 บาท๒ มื้อจำนวน 236คนเป็นเงิน11,800.-บาท
2) ค่าสมนาวิทยากร
-ค่าวิทยากรประจำกลุ่มฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเรียนรู้วิธีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และการป้องกันโรคไข้เลือดออกจำนวน 5กลุ่ม กลุ่มละ 24คน จำนวน 2ครั้ง (วิทยากรอบรมครั้งละ 5คน โดย วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 24คน )ชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 6 ชั่วโมงวิทยากร 5คนจำนวน 2ครั้ง รวมเป็นเงิน36,000.-บาท
3) ค่าวัสดุอุปกรณ์/ป้ายไวนิล
-ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร และสิ่งพิมพ์ชุดละ 20 บาท X 236 คน เป็นเงิน4,720.-บาท
-ค่าไวนิล350 บาท เป็นเงิน350.-บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน3,000.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำ และอสม. ทั้ง 19 ชุมชน ได้ความรู้จากการอบรมโดยมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตลอดถึงการรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชน
2.ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้ง 19 ชุมชนมีแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง และตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรค และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
3.ประชาชนในชุมชนทุกครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจ มีความ ตระหนักถึงอันตราย การป้องกันและควบคุมโรค
4.ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว โดยความร่วมมือของแกนนำชุมชน และอสม. รวมถึงประชาชนในพื้นที่


>