กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองขลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองขลุง

รพ.สต.โค้งวิไล

รพ.สต.โค้งวิไล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

10.00
2 ร้อยละของสตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

10.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโค้งวิไลได้ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและวิธีส่องกล้อง ในสตรีไทยอายุ30-60ปี (เกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ2558-2562ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ) ซึ่งมีเป้าหมาย จำนวน620คน มีผลการดำเนินงานสามารถคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี สะสมตั้งแต่ ปี 2558-2560จำนวน264คนคิดเป็นร้อยละ 42.58 และในการดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งเต้านม อายุ 30-70 ปี มีเป้าหมาย จำนวน 800 คน คัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน741ราย คิดเป็นร้อยละ 92.63 ซึ่งยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ตัวชี้วัดอีกทั้งยังพบจากการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Papsmear จำนวน 2 คนซึ่งได้รับการส่งรักษาที่รพ. และยังคลำพบก้อนในกลุ่มสตรีที่มารับบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 1 ราย ส่งรักษาต่อที่รพ.
ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโค้งวิไล ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรี ประจำปี 2563 นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สตรีอายุ30-70 ปี ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว และมารับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมมากขึ้น พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก หากตรวจพบสิ่งผิดปกติ สามารถรักษาได้ทันท่วงที ส่งผลทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่มีอายุ 30 -60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมีความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของสตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

10.00 20.00
2 2.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่มีอายุ 30 -70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมีความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม

สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมีความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม

10.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูให้ความรู้ แกนนำสตรี / อสม.และดำเนินการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูให้ความรู้ แกนนำสตรี / อสม.และดำเนินการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน และส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยตนเองเกี่ยว กับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2.จัดนิทรรศการความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในสถานบริการ 3.ให้สุขศึกษาเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เกี่ยวกับสาเหตุทั่วไป และปัจจัยเสี่ยงต่างๆรวมถึง การป้องกันและดูแลตนเองทางหอกระจายข่าวและในสถานบริการ 4.อบรมฟื้นฟูให้ความรู้  แกนนำสตรี / อสม.ในการติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจ Pap Smear
5.จัดกิจกรรมรณรงค์ การตรวจ Pap Smear   กลุ่มเป้าหมาย   พร้อมทั้งให้ความรู้ 6.ดำเนินการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในกลุ่มเป้าหมาย
7.จัดทำทะเบียนรายชื่อ ที่อยู่  อายุ กลุ่มเป้าหมาย  และทะเบียนการตรวจคัดกรองในสถานบริการ 8.บันทึกข้อมูลผู้ได้รับการตรวจคัดกรอง ส่งข้อมูลให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองขลุงพร้อมแผ่นสไลด์ 9.ส่งต่อผู้มีภาวะเสี่ยง พบภาวะผิดปกติ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษา 100 %
10.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยผู้ที่แพทย์วินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม อย่างต่อเนื่อง
ครอบคลุม 100% 11.สรุปผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่มีอายุ 30 -60 ปี ได้รับการตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการส่องกล้องและวิธี Pap Smear  ตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ ปีละ 1 ครั้งและมีความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก 2.หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่มีอายุ 30 -70 ปี มีความรู้อย่างถูกต้องมะเร็งเต้านม  ในการตรวจเต้านมอย่างถูกวิธีและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องทุกเดือน 3.อัตราการป่วยและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง 4.สตรีที่ตรวจพบเป็นความผิดปกติได้รับรักษาเบื้องตันจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และส่งต่อให้วินิจฉัยจากแพทย์ และรับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่มีอายุ 30 -60 ปี ได้รับการตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการส่องกล้องและวิธี Pap Smearตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ ปีละ 1 ครั้งและมีความรู้อย่างถูกต้องในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก
2.หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่มีอายุ 30 -70 ปี มีความรู้อย่างถูกต้องมะเร็งเต้านมในการตรวจเต้านมอย่างถูกวิธีและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องทุกเดือน
3.อัตราการป่วยและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง
4.สตรีที่ตรวจพบเป็นความผิดปกติได้รับรักษาเบื้องตันจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และส่งต่อให้วินิจฉัยจากแพทย์ และรับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง


>